บทเพลงอาหรับ: วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน Arbian Songs: The Sound of Nile, Surau Bandon Community

Main Article Content

อนุวัฒน์ เขียวปราง มานพ วิสุทธิแพทย์ Anuwat Kheawprang Manop Wisuttipat

Abstract

บทเพลงอาหรับ : วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ (The Sound of Nile) ผู้วิจัยได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการทางดนตรีของชาวไทยมุสลิมผ่านประวัติของวง เดอะ ซาวด์ ออฟไนล์ 2. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีของบทเพลงที่บรรเลงโดยวง เดอะ ซาวด์ ออฟไนล์ โดยผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้านมานุษยดุริยางควิทยา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนสุเหร่าบ้านดอนในช่วงปี พ.ศ. 2510 เมื่อมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ในชุมชน สื่อบันเทิงนอกจากจะประกอบไปด้วยการทำกิจกรรมนันทนาการต่างๆแล้ว  ยังมีการนำวงดนตรีลูกทุ่งมาทำการบรรเลง ซึ่งเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นแนวทางดนตรีที่ไม่มีความสอดคล้องกับการที่ ชาวชุมชนสุเหร่าบ้านดอนให้ความนิยมในการฟังในชีวิตประจำวัน นายอำนวย วงศ์ประถัม หนึ่งในชาวชุมชนที่มีความนิยมในการฟังเพลงรูปแบบดนตรีอาหรับที่อาศัยอยู่ในชุมชนสุเหร่าบ้านดอน จึงมีความคิดริเริ่มอยากที่ จะก่อตั้งวงดนตรีที่นำบทเพลงรูปแบบ ดนตรีอาหรับมาบรรเลงประกอบการนันทนาการในหมู่ของคนที่นิยมฟังเพลงรูปแบบดนตรีเดียวกัน โดยเริ่มจากการชักชวน นายฮัจยีห์สมัย หนูรักเข้ามาบรรเลงในตำแหน่งกีตาร์ และ ได้เพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกันมาบรรเลงในตำแหน่งเมโลเดียน และกลองบองโก เกิดเป็นวงดนตรีเล็กๆ ที่เลือกบทเพลงของ มูฮัมหมัด อัลบักกาซ (ศิลปินดนตรีอาหรับ) มาบรรเลงในเวลาว่าง โดยชื่อวงดนตรีว่า “เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ (The Sound of Nile)” ในช่วงปีพ.ศ. 2513 ตลอดระยะเวลานานกว่า 40 ปี วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ ได้สร้างชื่อเสียงในฐานะวงดนตรีอาหรับ โดยบรรเลงดนตรีจามงานสังสรรค์ของชุมชนมุสลิมที่ให้ความสนใจ ตลอดจนบรรเลงดนตรีในงานการกุศลต่างๆ จนถึงช่วงปีพ.ศ.2557 วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ ยุติบทบาทวงดนตรีอาหรับลงอย่างถาวร แต่นายมูฮัมหมัด หนูรัก อดีตนักร้องนำของวง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ มีความคิดและได้รวบรวมสมาชิกในยุคสุดท้ายของวง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ ที่ยังอยากบรรเลง ดนตรีต่อ และมีการชักชวนสมาชิกเพิ่มเติม ก่อตั้งวงดนตรีเล็กๆ แบบอคูสติก ขึ้น แต่ไม่ได้เลือกที่จะบรรเลงบทเพลงอาหรับแบบเดียวกับวง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ แต่ได้เพิ่มบทเพลงหลากหลายรูปแบบเข้ามาผสมกัน ในการแสดงดนตรีแต่ละครั้ง เช่น บทเพลงสากล บทเพลงอินเดีย รวมไปถึงบทเพลงไทยสากล เป็นต้น โดยใช้ชื่อวงดนตรีว่า     “มุสตอฟา”

จากการวิเคราะห์บทเพลงอาหรับที่บรรเลงโดยวง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ พบว่า เพลง ซาลามัต หนึ่ง ในผลงานเพลงของ มูฮัมหมัด อัล บากา ศิลปินชาวต่างประเทศแนวดนตรีอาหรับ ที่วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ นำไปบรรเลงในการแสดงดนตรีทุกครั้ง มีองค์ประกอบทางด้านดนตรีที่น่าสนใจ เช่น มีช่วงเสียงของทำนอง ที่กว้าง การเคลื่อนที่ของทำนองแบบข้ามขั้นและตามขั้นสลับกัน เทคนิคการพัฒนาประโยคแบบห้วงลำดับทำนอง หรือซีเควนซ์ (Sequence) รวมไปถึงการดำเนินทำนองที่มีทิศทางในการดำเนินที่ไม่ชัดเจน แต่กลับมีการใช้คอร์ดเพียงไม่กี่คอร์ดสลับกันเป็นเสียงประสานประกอบทำนอง ซึ่งองค์ประกอบทางดนตรีที่น่าสนใจนี้จึงส่งผลให้วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ มีแนวคิดในการสร้างสรรค์บทเพลงที่มีองค์ประกอบทางดนตรีในแนวทางเดียวกัน โดยมีแรงบันดาลใจมาจากแนวดนตรีแบบอาหรับ จึงเกิดเป็นผลงานเพลงที่ชื่อว่า ดุนยาที่ฉันเห็น ประพันธ์โดยใช้เนื้อหาเป็นภาษาไทยให้ความหมายที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับทัศนะวิสัย ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ทั้ง 2 เพลงที่กล่าวมาคือส่วนหนึ่งของการบรรเลงดนตรีที่วง        เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ นำไปบรรเลงทุกครั้งที่มีการแสดงดนตรีจนทำให้เกิดเป็นความนิยมในหมู่ผู้ชม ตลอดมา

 

  The researcher has set the objectives of this study on Arabian songs and The Sound of Nile Ensemble as follows: 1.To study the history, including changes and the development of Muslim music through the ensemble, The Sound of Nile. 2.To analyze the  composition of the music played by The Sound of Nile. The researcher employed the Ethnomusicology method in this study. The results of this research indicated that a meeting in Surau Bandon Community in 1917, had a profound impact on Muslim musical culture. This meeting featured various recreation activities and the type of country music played in the Surau Bandon Community. Mr.Umnuy Wongpratum, a prominent figure in Arabian music, was inspired to start a four-piece band, including a guitarist, melodeon player and bongo drummer in 1970, which he named The Sound of Nile. This ensemble performed for more than forty years until 2014. Since then, Muhammad Nurak, the lead singer, has worked with former ensemble members, with a focus on acoustic instruments, in the name of Mustofa in 2015.

  The Arabian songs played by the Sound of Nile ensemble have been analyzed and        the findings reveal that the music has many interesting features such as wide range melodies,    the tempo of the movement, switching between skips and orders, the development of a technique to produce deep sequencing sentences, using chord switching to accompany a melody with chords. Due to the use of these techniques, the Sound of Nile were inspired by Arabian music. However, the lyrics to their songs use the Thai language in order to give their songs a more profound meaning for Thai audiences, which are consistently popular with audiences.

Article Details

How to Cite
Anuwat Kheawprang Manop Wisuttipat อ. เ. ม. ว. (2017). บทเพลงอาหรับ: วง เดอะ ซาวด์ ออฟ ไนล์ ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน Arbian Songs: The Sound of Nile, Surau Bandon Community. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(1), 260–281. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93322
Section
Research Articles