การเต้นบัลเล่ต์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างบุคลิกภาพสำหรับเด็กปฐมวัย กรณีศึกษา สถาบันดนตรีเคพีเอ็น เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ The Personality Development from ballet dance for the childhood at KPN Music Academy Central Chaengwattana

Main Article Content

กัญชพร ตันทอง Kanchaporn Tunthong

Abstract

การวิจัยเรื่อง การเต้นบัลเล่ต์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างบุคลิกภาพสำหรับเด็กปฐมวัย กรณีศึกษา สถาบันดนตรีเคพีเอ็น เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างบุคลิกภาพ กล้ามเนื้อ สมรรถนะทางร่างกาย จิตใจ และทักษะสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นการเรียนการสอนผ่านรูปแบบการเต้นบัลเล่ต์ และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้หลักสูตร The Royal Academy of Dance ในระดับ Grade Pre-Primary in dance และ Grade Primary in dance กับเด็กปฐมวัยในการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยที่สมัครเรียนบัลเล่ต์ ณ สถาบันดนตรีเคพีเอ็น เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ มีอายุระหว่าง 3 ถึง 6 ปี จำนวน 15 คน และไม่เคยผ่านการเรียนบัลเล่ต์มาก่อน โดยได้รับการฝึกกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ระหว่างเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เป็นจำนวน 12 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที กิจกรรมดังกล่าวจะถูกประเมินทักษะทั้ง 5 ด้าน คือ เสริมสร้างบุคลิกภาพ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ สมรรถนะทางร่างกาย จิตใจ และทักษะสังคม ซึ่งใช้วิธีการทดลองที่แตกต่างกัน มีการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครอง และผู้วิจัย ทำการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ จากนั้นวิเคราะห์ผลแบบสอบถามโดยวิธีทีเทส (T-test) ด้วยโปรแกรมเอสพีเอสเอส (SPSS)

วิธีทดลองของทักษะด้านที่ 1 เสริมสร้างบุคลิกภาพ และด้านที่ 2 เสริมสร้างกล้ามเนื้อ คือ ใช้ท่าเต้นบัลเล่ต์และเพลงอ้างอิงจากหลักสูตร The Royal Academy of Dance ด้านที่ 3 สมรรถนะทางร่างกาย ใช้การจินตนาการสร้างสรรค์ท่าเต้นบัลเล่ต์พร้อมใช้อุปกรณ์ประกอบ ด้านที่ 4 จิตใจ และด้านที่ 5 ทักษะสังคม ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างและกำหนดประเด็นเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างคิดเรื่องราวนำเสนอผ่านการเต้นบัลเล่ต์ในชั่วโมงเรียน

 จากผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการด้านเสริมสร้างบุคลิกภาพ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ สมรรถนะทางร่างกาย จิตใจ และทักษะสังคม เพิ่มขึ้น คิดเป็น 2.42, 2.51, 2.12, 2.67 และ 2.43 เท่า ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของทักษะทั้ง 5 ด้าน ลดลงจากช่วง 21-33 เปอร์เซ็นต์ เหลือช่วง 4-7 เปอร์เซ็นต์  ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเต้นบัลเล่ต์ช่วยเสริมสร้างทักษะและบุคลิกภาพให้กับผู้เรียน และหลักสูตร The Royal Academy of Dance ในระดับ Grade Pre-Primary in dance และ Grade Primary in dance สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

The research of Ballet course for improving appearances in primary school students at KPN Music Academy, Chaeng Wattana branch aims for studying the personality development, muscle development, physical fitness, mind, and social skills for the students by doing Ballet and to study the possibility to use Grade Pre-Primary in dance and Grade Primary in dance level of The Royal Academy of Dance course with the students for muscle system development. 15 primary school students at KPN Music Academy, Chaeng Wattana branch, whose ages are between 3-6 years old and has no experience in ballet were chose as an example group. This group member has been trained ballet during April, 2015 to May, 2015, twice a week, for 60 minutes per time, totally 12 times. 5 skills was evaluated; personality development, muscle development, physical fitness, mind, and social skills, with different methodologies. The research tool is questionnaire that used with the example group, guardians, and the researcher who had to do questionnaire before and after the activity for 1 week, then the scores was used to calculated and analyzed by T-test statistics and SPSS program.

The methodologies of 1st skill; personality development and 2nd skill; muscle development, are practice ballet and using music referred to The Royal Academy of Dance course. The 3rd skill; physical fitness, create the ballet performance with tools. The 4th skill; mind, and 5th skill; social skills, divided small groups and gave them the topic to create story with doing ballet in the class.

The scores from questionnaire analysis shows that, the example group’s personality development, muscle development, physical fitness, mind, and social skills, have been increased after the activity to 2.42, 2.51, 2.12, 2.67 and 2.43 times, respectively. The Coefficients of variation have been decreased from between 21-33 percent to 4-7 percent. In consequence, doing ballet can develop skills and improve appearances of the students and Grade Pre-Primary in dance and Grade Primary in dance level of The Royal Academy of Dance course can be effectively applied in primary school students.

Article Details

How to Cite
Kanchaporn Tunthong ก. ต. (2017). การเต้นบัลเล่ต์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างบุคลิกภาพสำหรับเด็กปฐมวัย กรณีศึกษา สถาบันดนตรีเคพีเอ็น เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ The Personality Development from ballet dance for the childhood at KPN Music Academy Central Chaengwattana. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(1), 127–140. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93312
Section
Research Articles