กระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางในภาคอีสาน Creative Process of Ponglang Folk Music Ensemble in I-San Region.

Main Article Content

จักรี อบมา Jakkee Obma

Abstract

การวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางในภาคอีสานมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการวงโปงลางในภาคอีสาน2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางในภาคอีสาน ขอบเขตของการวิจัยคือผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เวทีการประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประจำปี พ.ศ.2557 และผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเวทีการประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง (ฟ้อนลำแคน คอนเทสต์) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักวัฒนธรรมและเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ.2557 ผลการวิจัยพบว่า

           วงโปงลางศิลป์อีสานเดิมชื่อวงแคนเงิน พ.ศ.2544 ก่อตั้งขึ้นจากสโมสรนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรของมหาวิทยาลัย โดยการรวมกลุ่มของนิสิตสาขาดุริยางคศิลป์ สาขาศิลปะการแสดง และสาขาทัศนศิลป์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ.2549 สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดการประกวดดนตรีพื้นบ้านขึ้น ผลการประกวดในปีนี้วงโปงลางศิลป์อีสานซึ่งเป็นการเข้าร่วมเป็นครั้งแรกได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นวงศิลป์อีสานจึงได้ร่วมแข่งขันในทุกๆ จนปี พ.ศ.2557 วงโปงลางศิลป์อีสานก็ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดอีกครั้งหนึ่ง

           กระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางศิลป์อีสานได้แนวคิดจากระเบียบการแข่งขันที่เป็นโจทย์ในการสร้างสรรค์ และมีระบบขั้นตอน ประกอบด้วย ประชุมวางแผนในการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบ รายงานผลการปฏิบัติงาน ปรับปรุงแก้ไข และประเมินผลงาน

           วงโปงลางสีทันดร พ.ศ.2546 ได้ก่อตั้งเป็นวงโปงลางโคกคอนวิท และเปลี่ยนชื่อวงใหม่ในปี พ.ศ.2551 เป็นวงโปงลางสีทันดร ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเสริมหลักสูตรของโรงเรียน ช่วงแรกฝึกซ้อมโดยวิทยากรรับเชิญ ต่อมานักดนตรีสามารถฝึกปฏิบัติเองได้ จึงฝึกซ้อมแบบพี่สอนน้อง ในปี พ.ศ.2548 เป็นจุดเริ่มของการเข้าร่วมแข่งขันประเภทวงดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง และได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดวงดนตรีพื้นบ้าน “ฟ้อนลำแคน คอนเทสต์” มหกรรมลำภูไทประจำปี 2557 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          กระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางสีทันดรมีแนวคิดจากระเบียบการแข่งขัน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ใช้บังคับในการประกวดแต่ละครั้ง เมื่อศึกษาระเบียบการประกวดได้ประชุมกับผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบหมายหน้าที่ ในขั้นตอนการสร้างสรรค์ศึกษาข้อมูลที่จะนำเสนอจากเอกสาร ตำรา ศิลปินพื้นบ้านผู้ชำนาญในเรื่องนั้นๆแล้วนำมาสู่กระบวนการเรียบเรียงให้สมบูรณ์ และทำการประเมินผลงานจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถ้ายังไม่สมบูรณ์ก็ปรับแก้ไขจนเป็นที่พอใจ

 

 

           This research study aimed at investigating the following aspects: 1) the development of Ponglang folk music ensemble in I-San region and 2) the creative process of Ponglang folk music ensemble in I-San region. The target group comprised the winners of twocontests: the Local IsanPonglang Band contest organized by the Recreation Center, Department of Physical Education in 2014 and the Local Ponglang Band (FornlumKaenDancing) contest run by Arts and Culture Division and the Network of Arts and Culture, KhonKaenUniversity in 2014. Those winners won Queen Sirikit trophy and Princess Sirindhorn trophy respectively.

           The findings were as follows:

           Ponlang Sin I-San band was previously called KaenNgen band. The Alumni Association of Faculty of Fine Arts, Mahasarakham University founded this band as an extra-curriculum activity in 2001. The band gathers the members from the undergraduates of Faculty of Fine Arts majoring in Music, Performing Arts, and Visual Arts. Then, the Recreation Center, Department of Physical Education organized the Local IsanPonglang Band contest. In 2006, Ponlang Sin I-San band joined the contest and was the winner. So, the band participated in the particular contest every year and won the contest again in 2014.

           The creative processes of Ponlang Sin I-San band were formed according to the contest’s rules and regulations. They consisted of the following processes, including planning, assigning the duty for the band members, reporting the progress, making some adjustments, and evaluation the performance.

           See Tan Dorn Ponglang band was firstly known as KhokKhon Wit band and was established in 2003. The name was changed to See Tan Dorn Ponglangband 2008, as proposed by the band members. It is also an extra-curriculum activity of the school. At the beginning, the school invited the experts to train the members of the band. Later on, the senior members trained the junior ones and did the rehearsal by themselves. The band started to competition with other bands in the local Ponglang contest in 2005. It won FornlumKaen Dancing contest, organized in LumPhuthai festival in 2014 and received a trophy from Princess Sirindhorn.

           The creative processes of See Tan Dorn Ponglang band was also developed from the fixed regulations of each contest. After examining and understanding the regulations, the band members were assigned duties. Then, they studied and searched for the information about they were going to perform from various sources, including textbooks and local expert in the particular issues. Next, the band member and the teachers collaborative ordered the sequences of the show and evaluated the entire performance. Finally, they helped adjusted some mistakes and improved the show.

 

Article Details

How to Cite
Jakkee Obma จ. อ. (2017). กระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางในภาคอีสาน Creative Process of Ponglang Folk Music Ensemble in I-San Region. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(1), 22–44. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93279
Section
Research Articles