เทคนิคกำรบรรเลงคีย์บอร์ดประกอบหมอลำเรื่องต่อกลอน Keyboard playing Techniques for Accompaniment in Molum Ruang Toe Klon

Main Article Content

ชัชวาลย์ สร้อยกุดเรือ Chatchawal Solgudrue

Abstract

 

การวิจัยเรื่องเทคนิคการบรรเลงคีย์บอร์ดประกอบหมอลำเรื่องต่อกลอน  มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อศึกษาพัฒนาการการบรรเลงคีย์บอร์ดประกอบหมอลำเรื่องต่อกลอน  และศึกษาเทคนิคการบรรเลงคีย์บอร์ดประกอบหมอลำเรื่องต่อกลอน  การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยคือ หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น คณะระเบียบวาทะศิลป์  อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  ผลการวิจัยพบว่า

พัฒนาการของคีย์บอร์ดวงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์  พ.ศ. 2507 ดนตรีประกอบการลำนั้นมีเพียง “แคน” เป็นเครื่องดนตรีหลัก และมี กลองหาง  ฉิ่ง  ฉาบ เป็นเครื่องดนตรีประกอบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ทางคณะระเบียบวาทะศิลป์มีการนำฉากมาใส่บนเวที มีเครื่องทำไฟ  เครื่องเสียงเป็นของตัวเอง และในช่วงนี้เอง ในส่วนของดนตรีมีการนำ “แอคคอร์เดียน” มาบรรเลงประกอบการลำ พ.ศ. 2514 ได้นำเครื่องดนตรีอื่นๆเข้ามาประยุกต์ เช่น กลองชุด ออร์แกน กีต้าร์เบส เป็นต้น พ.ศ.2528 เริ่มนำคีย์บอร์ดมาใช้ประกอบกับการลำ  พ.ศ. 2535 วงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์จึงได้นำคีย์บอร์ดประเภทเครื่องซินดิไซเซอร์ที่สามารถทำเสียงเลียนเสียงดนตรีได้หลายชนิดมาใช้บรรเลงประกอบ

พ.ศ. 2540 -ปัจจุบัน หมอลำคณะระเบียบวาทะศิลป์ก็ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดตามยุคสมัย  เพื่อให้ทันกับกระแสเพลงลูกทุ่งสมัยใหม่  ซึ่งคีย์บอร์ดที่ใช้ได้แก่  YAMAHA รุ่น PSR-500,   Roland รุ่น RS-50  , Roland รุ่น Juno G,  Korg รุ่น Triton LE  เป็นต้นซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้การบรรเลงหรือการทำงานของนักดนตรีได้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น

เทคนิคการบรรเลงคีบอร์ดประกอบทำนองการบรรเลงนั้นมีหลายทำนอง ได้แก่ ลำทำนองขอนแก่น ลำเพลิน  ลำเต้ย ลำเดิน  มีคีย์บอร์ดเป็นเครื่องดนตรีหลักทำหน้าที่สร้างทำนองสอดประสานกับทำนองลำ  ทำหน้าที่แทนแคน ซึ่งการบรรเลงประกอบการลำนั้น  มีรูปแบบคือ การเกริ่นนำ(Intro)  การด้นคลอทำนองลำ (Improvisation)  การสร้างทำนองสอดประสาน (Counterpoint) ระหว่างประโยคของกลอนลำ เทคนิคการใช้เสียงคีย์บอร์ดประกอบการลำ ได้แก่ 1) เทคนิคการบรรเลงเสียงโหวด        2) เทคนิคการบรรเลงเสียงแคน  3)  เทคนิคการบรรเลงเสียงปี่ภูไท  4)  เทคนิคการเลียนเสียงซอ    5)  เทคนิคการบรรเลงเสียงออร์แกน       6) การบรรเลงคีย์บอร์ดเลียนเสียงจากเสียงธรรมชาติ

          จากการศึกษาเทคนิคการบรรเลงต่างๆ ที่คีย์บอร์ดได้ทำหน้าที่ประกอบการลำ การแสดงอื่นๆ เทคนิคต่างๆเหล่านี้ ผู้บรรเลงคีย์บอร์ดได้สร้างสีสันให้กับการแสดงด้านหน้าเวที  ให้ดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น บทบาทและหน้าที่ของเสียงจากคีย์บอร์ด  มีผลต่อการแสดง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อสุนทรียรสของผู้แสดง  ผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง

 

 

This research aimed to study the development of keyboard techniques used and playing techniques of Mor Lam Ruang Toh Klorn. The case study of this research was Rabiab Wathasilp, famous E-san-style band from Khon Kaen and the findings were as follows;

The development of keyboard playing of the band in B.E. 2507 showed that the main feathering instruments were Khaen, long drums, cymbals and small cymbals. Then, in B.E. 2510 the band had been so well-known that it had brought lighting systems for staging, and having its own stereo. At that moment, the band had brought accordions into play and international music instruments then in B.E. 2514 such as drum sets, organs, basses, etc. However, in B.E.2528 the first keyboard, Organ YAMAHA YC-20, was bought in order to feathering the play, and the band decided to buy CASIO (unidentified brand) and YAMAHA (unidentified brand) which was a kind of music synthesizers—music instruments to make various sounds. In B.E 2537-2538, synthesizing keyboards were widely used in Morlam bands, and at that time Rabiab Wathasilp.

In B.E. 2540 – present, production of such instruments had been widespread. The main factor effecting music bands and the development of keyboards was the growth of recording technology. After the change, Rabiab Wathasilp had bought its new keyboards which were YAMAHA PSR-500, Roland RS-50, Roland Juno G, Korg Triton LE, etc. The mentioned instruments would give the play more effectiveness and standard.

There were many Morlam keyboard playing techniques such as Lam Tham Nong Khon Kaen, Lam Plern, Lam Toei and Lam Dern which had keyboards as the main music instrument feathering with Lam rhythms which sounded like Khaen. The feathering included introduction, improvisation and counterpoint during the poems.

The keyboards’ techniques to feather the play were 1) Vhod-like sounds, 2) Khaen sounds, 3) Phuthai flute sounds, 4) fiddle sounds, 5) organ sounds and 6) nature-like sounds.

          From the study, the keyboard playing techniques were used in E-san-style dances and plays. The musicians used these techniques to make the on-stage show flamboyant and to be more perfect. The roles of keyboards affected the plays depended on the imagination of the composers.

 

Article Details

How to Cite
Chatchawal Solgudrue ช. ส. (2017). เทคนิคกำรบรรเลงคีย์บอร์ดประกอบหมอลำเรื่องต่อกลอน Keyboard playing Techniques for Accompaniment in Molum Ruang Toe Klon. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(1), 1–21. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93275
Section
Research Articles