ภูมิปัญญาพื้นบ้านเครื่องมือดักสัตว์ เมืองปากงื่ม นครนหลวงเวียงจันทน์ ส. ป. ป. ลาว Local Wisdom of Traps in Pak Ngum Vientiane Lao PDR.

Main Article Content

สังคม สีวิไล Sangkhom Sivilay

Abstract

บทความเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านเครื่องมือดักสัตว์ เมืองปากงื่ม นครนหลวงเวียงจันทน์  ส. ป. ป. ลาว มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ประวัติความเป็นมาและภูมิปัญญาพื้นบ้านของเครื่องมือดักสัตว์ เมืองปากงื่ม นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้  ผู้ปฏิบัติ  และผู้เกี่ยวข้อง  ใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์   แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม แล้วนำข้อมูลมารวบรวมวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ทฤษฏีประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และทฤษฏีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม  พร้อมด้วยแนวคิดภูมิปัญญาเครื่องดักสัตว์ แล้วนำเสนองานวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า

ด้านประวัติความเป็นมาของเครื่องดักสัตว์  พบว่า  เครื่องมือดักสัตว์นี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลและไม่สามารถระบุได้ว่าในพื้นที่เมืองปากงื่ม   นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยใคร  เมื่อใด  หรืออย่างไรได้  ระบุได้เพียงว่า  เมื่อมีการอพยพโยกย้ายของผู้คนมาตั้งหลักปักฐาน ณ บริเวณพื้นที่ดังกล่าว  ก็ปรากฏเครื่องมือดักสัตว์อยู่ด้วยแล้ว ซึ่งจากการศึกษาสามารถจำแนกเครื่องมือดักสัตว์ออกมาได้ 4 หมวด ตามลักษณะและประเภทของสัตว์  อันประกอบด้วย 1) เครื่องมือดักสัตว์ปีก 2)เครื่องมือดักสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม   3)เครื่องมือดักสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและ 4) เครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยความเป็นมาของเครื่องมือดักสัตว์ในแต่ละประเภทต่างมีวัตถุประสงค์หลักในการดักจับสัตว์มาใช้เป็นอาหารตั้งแต่อดีต  อีกทั้งเครื่องมือดักสัตว์ที่ชาวบ้านจัดทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการดักจับสัตว์ที่หลากหลายชนิดนั้นต่างมีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่และชนิดของสัตว์ 

ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านเครื่องมือดักสัตว์ พบว่า ภูมิปัญญาเครื่องดักสัตว์เป็นภูมิปัญญาของผู้คนที่จัดทำเครื่องดักสัตว์เพื่อดัก จับ สัตว์ต่างๆ โดยเครื่องดักสัตว์แต่ละชนิดจะมีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ที่ใช้ทำมาหากิน  อีกทั้งเครื่องมือดักสัตว์แต่ละชนิดจะมีความสอดคล้องกับประเภท ชนิด ลักษณะ และธรรมชาติของสัตว์นั้น ๆ และเครื่องมือดักสัตว์ส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุที่มีอยู่ในพื้นถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หญ้า หวาย ฟาง หรือวัสดุอื่นๆ แล้วนำมาจักสานและประกอบเป็นเครื่องมือดักจับสัตว์ที่เหมาะสมกับประเภท  ชนิด  ลักษณะ  และธรรมชาติของ สัตว์  

 

The study of Local Wisdom of Traps in Pak Ngum District, Vientiane Lao PDR. aims to investigate the history and local wisdom of traps used in Nam Ngum district of Vientiane, Lao PDR. The target group of this qualitative study consisted of the key informants, casual informants and general informants. The tools used in data collection include interviews, observations and focused-group discussion. The data collected then was analyzed by using the Theory of Aesthetics, Theory of History and Culture, Theory of Cultural Diffusion and the Concept of Animal Trap Knowledge. Consequently, the results were analyzed in a descriptive analysis method.

The results reveal that the traps had been invented since the ancient time and were not be able to exactly identify when and how long they were originally made. It was only known that when there was a migration into this area, the traps had already appeared. From the study, the traps could be classified into 4 categories following their characteristics and types of animals used for, including 1) Traps used for birds or poultry, 2) Traps used for mammals, 3) Traps used for amphibians, and 4) Traps used for aquatic animals. The history of these traps made by the villagers was to trap/catch various types of animals in accordance to the contexts of areas and kinds of the animals.

It can be summarized that the local wisdom of traps were the wisdom of the trap makers who invented them to catch and trap animals. Each of these traps would be made following the areas they use. At the same time, each of them would be consistent to the category, type, characteristic and nature of certain animal. Moreover, the majority of these traps were made from the local materials, such as bamboo, grass, rattan, rice straw and etc. These materials are commonly woven and formed as a trap that is suitable for certain category, type, characteristic and nature of the animals. 

Article Details

How to Cite
Sangkhom Sivilay ส. ส. (2016). ภูมิปัญญาพื้นบ้านเครื่องมือดักสัตว์ เมืองปากงื่ม นครนหลวงเวียงจันทน์ ส. ป. ป. ลาว Local Wisdom of Traps in Pak Ngum Vientiane Lao PDR. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 8(2), 98–121. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/85641
Section
Research Articles