ฮางฮดสรง : สื่อสัญลักษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรมและความ เชื่อในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสักของ สปป.ลาว The Symbol , Aesthetics , Ceremony and Belief of Hang Hode Song in the Luang Prabang Province,Vientiane Capital and Champasack

Main Article Content

กันหา สีกุนวง Kanha Sikounnavong

Abstract

       บทความเรื่อง ฮางฮดสรง :  สื่อสัญลักษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรมและความเชื่อ  ใน แขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสัก ของ สปปลาว   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของฮางฮดสรง ในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสัก  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและ ปัญหาเกี่ยวกับฮาง ฮดสรงในแขวงหลวงพระบาง,นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสัก  และเพื่อศึกษาสื่อสัญลักษณ์  สุนทรียภาพ พิธีกรรมและความเชื่อ ของชุมชนที่มีต่อฮางฮดสรงในแขวงหลวงพระบาง นครเวียงจันทน์ และแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว  การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลภาคสนามเป็นหลักและวรรณกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นส่วนประกอบ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มาโดยการ เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสำรวจ   แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แล้วนำมาวิเคราะห์ ด้วยทฤษฎี สื่อสัญลักษณ์ ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ และทฤษฎีความเชื่อและศาสนา นำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบภาพถ่าย และภาพลายเส้น  จากการศึกษาพบว่า มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เกิดจากความเชื่อผี ความเชื่อที่เกี่ยวกับบรรดาสรรพสัตว์ ทั้งหลาย ที่ให้ผลดีและร้ายให้กับมนุษย์ และเกิดจากความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา เป็นพิธีที่ ได้รับอิทธิพล มาจากประเทศอินเดีย  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 และได้เข้าสู่ลาว ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 7-8  และได้มีการปฏิบัติเป็นไปตามแบบจารีตประเพณี สืบต่อกันมาในสมัย พระยาฟ้าหล้าธรณีมหาราชฟ้างุ้ม จนถึงสมัยพระเจ้าสุริยวงศา ในปัจจุบันยังพบว่าพิธีกรรมดังกล่าว ยังมีการปฏิบัติสืบต่อมาอยู่บ้าง ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นตามโอกาสที่เอื้ออำนวยและ กรอบระยะเวลาตามความเหมาะสม ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดกฎ ระเบียบในการปฏิบัติอย่างเคร่งคัดเหมือนครั้งในอดีตกาลที่ผ่านมา  ส่วนสภาพปัจจุบันและปัญหาของฮางฮดสรงในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงจำปาสัก ได้พบว่า ในปี ค.ศ.1975 หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสังคมนิยม การทำฮางฮดสรงเป็นงานศิลปกรรมไม้แบบพื้นเมือง เป็นรูปพญานาคที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามจินตนาการ ภูมิปัญญาของช่างในแต่ละแขวง ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่าง ตั้งแต่ภาคส่วนหัว  ภาคส่วนลำตัว ภาคส่วนหาง และภาคส่วนฐาน ด้านสื่อสัญลักษณ์ได้ใช้รูปหัวพญานาค มีหัวมังกรหรือเงือก มีนกหงส์ มีนกหัสดีลิงค์ มาเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ ได้มากมาย สัญลักษณ์ดังกล่าวล้วนแฝงไว้อย่างมีนัยและความสัมพันธ์กับความเชื่อของคนลาวที่มีมาอย่างนาน ด้านสุนทรียภาพ พบว่า เป็นศิลปะพื้นบ้านที่มีรูปทรงที่เกิดจากแรงดลใจในธรรมชาติ และเกิดจากการจินตนาการ มีรูปทรง 3 มิติ มีความเป็นเอกภาพ ซึ่งปรากฏในเนื้อหาผนวกกับลวดลายที่ช่างได้แกะสลักออกมาตามส่วนต่าง ๆ ของฮางฮดสรง เป็นลายนูนสูงมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความกลมกลืนเข้ากันได้ดีระหว่าง เส้น สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว นอกจากนี้ยังเกิดความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกมีปริมาตร มีมวลสาร มีสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน และมีความสมส่วนกันของขนาดของรูปทรงกับพื้นที่ รวมถึงความสมส่วนหรืออัตราส่วน ที่เหมาะสมของทัศนธาตุมีการแบ่งส่วนดังกล่าวให้มีความสมดุลหรือดุลยภาพแบบสมมาตรพอเหมาะพอดีในส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นความงามที่ลงตัวของฮางฮดสรงทั้ง 3 แขวง ด้านพิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาว ที่มีต่อฮางฮดสรงนั้น พบว่า ทั้ง 3 แขวงได้ใช้ฮางฮดสรงเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการประกอบพิธีเถราภิเษก ถวายสมณะศักดิ์ให้กับพระสงฆ์ในระดับชาวบ้าน เพื่อยกย่องพระสงฆ์องค์ที่ปฏิบัติดี มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในชุมชนของตนเองเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไป มีขั้นตอนทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเริ่มต้น เป็นการคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติ 2) ขั้นเตรียมการตั้งกองฮด 3) ขั้นการประกอบพิธีกรรม ในแต่ละขั้นมีความหมายอันสำคัญยิ่ง พิธีกรรมดังกล่าวเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องเกี่ยวกับพญานาคให้น้ำซึ่งเป็นความเชื่อตามตำนานพราหมณ์ นอกจากนี้ฮางฮดสรงยังสามารถให้ผลดี ผลร้ายต่อวิถีชีวิตและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองไม่น้อยไปกว่างานพุทธศิลป์อื่นๆ เช่นกัน

 

The study of The Symbol, Aesthetics, Ceremony and Belief of Hang Hode Song in the Luang Prabang Province, Vientiane Capital and Champasack Province of Lao PDR aims to find the history, current status and problems and the symbols, aesthetics, ceremony and belief of Hang Hode Song in Luang Prabang, Vientiane, and Champasack. This is a qualitative study using mainly data collected during the field study and partly from domestic and international literatures. The population and sample groups include the key informants, casual informants, and general informants selected through purposive sampling. The study reveals that Hang Hode Song had a long history and originated from the beliefs in spirits and animals that gave good and bad to humans. This came from the Brahman and Buddhsit beleifs influenced from India during the 3rd Buddhist century. Hang Hode Song now has not been regulated as strictly as it was in the past time. The styles differed depending on the imagination and knowledge of the craftsmen in certain province. The differences could be found from the parts of head, body, tail and basis. The symbols used the head of Naga, dragon or mermaid. Swans and Mythical birds were used as symbols to represent various objects. Such semiologies were all hidden with implications and relations towards the beliefs among Lao people for a long time.  

Article Details

How to Cite
Kanha Sikounnavong ก. . . . ส. (2016). ฮางฮดสรง : สื่อสัญลักษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรมและความ เชื่อในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสักของ สปป.ลาว The Symbol , Aesthetics , Ceremony and Belief of Hang Hode Song in the Luang Prabang Province,Vientiane Capital and Champasack. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 8(2), 60–77. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/85395
Section
Research Articles