สิมเวียงจันทน์: รูปแบบ สุนทรียภาพ และ คติสัญลักษณ์ VIENTIANE-SIM: FORM, AESTHETIC AND SYMBO
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเรื่อง สิมเวียงจันทน์: รูปแบบ สุนทรียภาพ และคติสัญลักษณ์ มีจุดประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเวียงจันทน์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของสิมเวียง จันทน์ 3) เพื่อศึกษารูปแบบ สุนทรียภาพ และคติสัญญาลักษณ์ของสิมเวียงจันทน์ ระหว่างปี ค.ศ.1560-1974 เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และประชุมเชิงวิชาการ แล้วรวบรวมนำมาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎี โครงสร้างหน้าที่นิยม ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับสัญลักษณ์สัมพันธ์ และทฤษฎีประวัติศาสตร์วัฒนธรรม นำมาเสนอโดยใช้วิธีพรรณนา วิเคราะห์ประกอบภาพถ่ายและภาพลายเส้น
จากการศึกษาพบว่า สิมเวียงจันทน์นิยมปลูกสร้างไว้ในอาณาบริเวณของวัดมีประวัติการปลูกสร้างมานานจากอิทธิพลของความเชื่อ ความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนาโดยเริ่มสร้างในยุคล้านช้าง ตอนต้นซึ่งมีพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมากที่สุดในยุคล้านช้างตอนปลายในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงสาทัมมิกะราชทรงเป็นกษัตริย์ และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่คอยสนับสนุนส่งเสริมในการสร้างอันได้แก่ บริบทของสังคมของคนลาวที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความสัมพันธ์กันในระบบโครงสร้างทางสังคมแบบเครือญาติ และมีอุดมไปด้วยสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และภูมิปัญญาของคนในสังคมที่ถ่ายทอดต่อกันเรื่อยมา
สภาพปัจจุบันของสิมเวียงจันทน์พบว่า สิมอยู่ในนครหลวง เวียงจันทน์ (เมืองสีสัตนาค) และเมืองจันทะบูลีส่วนใหญ่เป็นสิมแม่ (ผู้หญิง) เมืองสีโคตรตะบองส่วนใหญ่เป็นสิมผู้ (ผู้ชาย) และเมืองไชยเชษฐาส่วนใหญ่เป็นสิมแม่ (ผู้หญิง) และสิมผู้ (ผู้ชาย) มีจำนวนเท่าๆ กัน สิมดังกล่าวมี องค์ประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนตัวเรือน และส่วนหลังคา ทุกส่วนได้มีลวดลายประดับเป็น ประติมากรรมนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว สร้างสรรค์ด้วยเทคนิค และวิธีการปั้น หล่อ แกะสลัก มีการระบายสีหรือการประดับกระจกสีในบางส่วนด้วย
รูปแบบสุนทรียภาพ และคติสัญลักษณ์ของสิมเวียงจันทน์ พบว่า รูปแบบของสิมที่สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1560-1974 มี 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบสิมแม่ (ผู้หญิง) 2) รูปแบบสิมผู้ (ผู้ชาย) สุนทรียภาพ พบว่า ลวดลายประดับ ประกอบไปด้วย 1) ลวดลายจากธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมได้แก่ ลวดลายดอกดวงต่างๆ ลวดลายสัตว์ที่เป็นโลกจริง 2) ลวดลายรูปเรขาคณิต และ 3) ลวดลายที่เกิดจากการจินตนาการ มีรูปร่างแปลกใหม่ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ โดยผสมผสานระหว่างสัตว์บนโลกกับจินตนาการของช่างลาว อาทิ พญานาค กินรี หงส์ ราชสีห์ รวมเรียกว่าสัตว์หิมพานต์
คติสัญลักษณ์พบว่า คติสัญลักษณ์ส่วนใหญ่แฝงไว้เพื่อเป็นคติสอนใจ เนื้อหาจะเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ชาดก และวรรณกรรม โดยนิยมทำเป็นรูปพระพุทธเจ้า เทพ เทวดา มนุษย์ สัตว์ทั้งในธรรมชาติและจินตนาการ การแสดงออกดังกล่าว จึงบ่งบอกถึง สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา ค่านิยม โลกทัศน์ และความเชื่อแห่งยุคสมัย ได้เป็นอย่างดี
The study of Vientiane-Sim: Form, Aesthetic, and Symbol aims to find the history, current status and problems, form, aesthetic and symbol of Vientiane-Sim during 1560-1974. Vientiane-Sim was commonly constructed in the temple areas since when Buddhism first entered into the country in Lan Xang kingdom period. Mostly the sims in in Vientiane capital (Sisattanak District) and Chantabuli province were FemaleSim (Woman), and those found in Sikottabong city were Male Sim (Man). In Chaiyachetthathirat city, the sims were found to be equally both female and male. These sims were consisted of three parts, including basis, body and roof. Every part was decorated with patterns and in low, high and round relief sculptural forms. The sims were created using techniques and processes of molding, casting, and carving. Some of them were painted or decorated with colored glasses as well. The form of sims made during 1560-1974 consisted of 2 forms, female sim form and male sim form. It was found that the aesthetic of Vientiane-Sim were decorated with various patterns, including natural patterns, geometric patterns and imaginary patterns. In the symbols, it was showed that the majority of symbols were hidden as morals.
Article Details
Content and information in articles published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is regarded as the opinion and sole responsibility of the author(s) directly; therefore, editors are not obliged to agree to or share any responsibility with regard to the content and information that appears within these articles.
All articles, information, content, image, etc. that have been published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is the copyright of the Journal of Fine and Appllied Arts of Khon Kaen University. Any person or organization who wishes to distribute all or parts of the articles for further dissemination or other usage must first receive permission from the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University before proceeding to do so.