จิตรกรรมฝาผนังอีสาน ”ฮูปแต้ม” : จากความเชื่อนรกภูมิสู่รูปแบบและคุณค่าศิลปกรรม The Northeastern Thai Mural Paintings (HOOPTAM): Of the beliefs NARAKAPHUMI "hell" To style and artistic value.

Main Article Content

สุพาสน์ แสงสุรินทร์

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเนื้อหา แนวคิด คุณค่า รูปแบบและเทคนิค ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังสิมอีสาน(ฮูปแต้ม)ภาพเขียนส่วนใหญ่นิยมเขียนบนผนังด้านนอกของสิม  องค์ประกอบเรื่องราวมีที่มาจากเรื่องไตรภูมิ  โดยถ่ายทอดเพียงภูมิใดภูมิหนึ่ง เช่น กามภูมิ ได้แก่ นรกภูมิ เปรตภูมิและดาวดึงส์  การเขียนภาพนรกภูมิ  มีการแสดงออกของภาพตามหลักความเชื่อเกี่ยวกับ กฎแห่งกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับนรกสวรรค์ หลักคำสอนหรือหลักธรรม  ฮูปแต้มอีสาน เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ทางด้านคติความเชื่อเกี่ยวกับ นรก  เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของคนในชุมชน ซึ่งชาว อีสาน มีความเชื่อเรื่อง นรก  ยังคงดำรงอยู่ในวิถีชีวิตเสมือนเป็นจิตวิญญาณที่ก่อให้เกิดแบบแผนของชาวอีสาน (แถบลุ่มแม่น้ำโขง)จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  มีรูปแบบทางศิลปกรรม  สามารถสรุปเป็นแบบแผนที่ชัดเจนเป็นลำดับ  นิยมเขียนภาพอีสานประเพณี  ระบายสีแบนเรียบ ตัดเส้นขอบ ทำให้เกิดลักษณะแบบ 2 มิติ  รูปและพื้นไม่นิยมจัดแสงเงา เป็นงานวิจิตรศิลป์อันทรงคุณค่า  มีเอกลักษณ์อีสานและวิจิตรงดงามด้วยฝีมือ  เป็นการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมอีสานประเพณีจากฝีมือช่างท้องถิ่น เทคนิคและรายละเอียดของงานจิตรกรรมสืบทอดจากช่างท้องถิ่นโบราณ บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ใจในการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะหรือมายาคติที่รับใช้สังคมอย่างแท้จริง

 

The purpose of this study to study the content, form, value concepts and techniques. Appears of murals in the SIM I-san. (Hooptam) Most paintings were popularly painted on the outside of the SIM. For composition in terms of stories. There were diffusion and primary Sources of stories from stories of TRIBHUMI only one of the three worlds or a fraction of any world was trans ferred through paintings such as KAMABBHUMI NARAKAPHUMI (Hell), PRETABHUMI and TARATINGSA HEAVEN. 

HOOPTAM I-San (Mural Paintings) will be center distributing information on folklores and beliefs about NA-ROK (Hell) So as to create an understanding and act as a source of information for the community. The I-san People, Where the beliefs of NA-ROK (Hell) are still held closely to the way of life, as though it is a spirit that has been bringing about the customs of I-san locals form the past up until the present. The Study leads to a conclusion that all versions of the paintings of the NA-ROK (Hellenic Scene)Have similar patterns that are all lucid and orderly,  The contend of the paintings in  principles of beliefs in law of karma in hells- heavens, the  principles of the teachings or principles of Drama.

Were favorably painted in I-san traditional style painted in flat and smooth pictures with lines on edges of each picture, So the figures and ground. Artisans did not like transference of lights – Shadows pictures were in two dimensions.

Which are valuable products of art. They reveal a distinctive. Thai I-san characteristic is a creative work of I-san traditional.  The technique and details of the mural painting got styles from between the late of I-san local. Were drawn by a local painter. These mural paintings indicated sincerity in creation of arts to serve society or Myth.

Article Details

How to Cite
แสงสุรินทร์ ส. (2015). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน ”ฮูปแต้ม” : จากความเชื่อนรกภูมิสู่รูปแบบและคุณค่าศิลปกรรม The Northeastern Thai Mural Paintings (HOOPTAM): Of the beliefs NARAKAPHUMI "hell" To style and artistic value. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 7(1), 84–109. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/37476
Section
Research Articles