ศึกษาวัฒนธรรมดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก : กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำกาลหว่าร์ The Musical Study Of The Greatness Of Roman Catholic : Case Study The Holy Rosary Church Bangkok

Main Article Content

พีระพงศื ชอบชื่นสุข

Abstract

การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์วิธีดำเนินการประกอบด้วยการศึกษาจากข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์วิทยากร นักดนตรี จากการศึกษาพบว่า เพลงนมัสการ หมายถึง บทเพลงชนิดใดๆ ที่มีความเหมาะสมถูกต้องสอดคล้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนศาสตร์ เพื่อที่ประชุมใช้ร้องในการนมัสการอันเป็นการแสดงออกซึ่งการสรรเสริญพระเจา การอธิษฐานอ้อนวอน เชื่อและวางใจ การขอบพระคุณพระเจา การเล้าโลมหรือการยืนยันในหลักข้อเชื่อ บทเพลงนมัสการต่างๆ ล้วนมีความหมายที่แสดงถึงการวิงวอนและการสรรเสริญพระเจ้าหรือบุคคลสำคัญทางศาสนาคริสต์เป็นหลัก โดยทุกบทเพลงที่ประกอบในพิธีกรรมล้วนทำหน้าที่สนับสนุนและเกื้อหนุนการประกอบพิธีกรรมที่จะประกอบขึ้น ซึ่งวัฒนธรรมดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกของวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์มีมาตั้งแต่ในอดีตและได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกนี้ เป็นดนตรีที่ที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการนมัสการพระเจ้า นักดนตรีส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก และอีกส่วนเป็นนักเรียนและผู้ที่สนใจในการเล่นดนตรี  เพลงนมัสการเป็นเพลงที่ใช้ในการนมัสการพระเจ้า โดยใช้ในพิธีต่างๆ ตลอดทั้งปี พิธีกรรมของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีวันประกอบพิธีกรรมโดยอิงจากปฏิทินของชาวยิว ซึ่งในแต่ละปีจะกำหนดวันประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามทางพระศาสนจักร หรือวาติกันเป็นผู้ประกาศ โดยจะเริ่มเดือนแรกคือเดือนพฤศจิกายน เป็นวันสมโภชน์พระคริสต์เจ้า กษัตริย์ของจักรวาล  ต่อด้วยเทศกาลเตรียมรับเสด็จเป็นเวลาโดยประมาณ 4 สัปดาห์  ในวันที่ 24 เดือนธันวาคม เป็นช่วงคริสมาส หรือ คริสต์สมภพ ช่วงนี้จะมีการเฉลิมฉลองจนถึงกลางเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันสมโภชน์พระคริสต์เจ้า และหลังจากนั้นจะเป็นเทศกาลธรรมดา และจะเริ่มต้นเทศกาลมหาพรตประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งจะตรงกับวันพุธ เรียกว่าวันพุธรับเข้า ระยะเวลาประมาณ 5 สัปดาห์ จากนั้นจะเข้าช่วงอาทิตย์ใบลาน หรือเรียกว่าสัปดาห์พระทรมาน พิธีกรรมต่างๆ จะเป็นลักษณะเช่นนี้ทุกๆปี เพลงที่ใช้ในการบรรเลงส่วนใหญ่จะมาจากหนังสือเพลงประสานใจซึ่งเป็นหนังสือที่แต่ละวัดจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่คริสต์ศาสนิกชนทั่วไป และเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ โดยในการเลือกเพลงต่างๆนั้น จะเลือกเพลงให้เข้ากับเทศกาลนั้นๆ ผู้ขับร้องจะเป็นผู้เลือกเพลงมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย นักดนตรีและนักขับร้องจะแต่งกายตามเทศกาลการร้องจะเป็นการร้องประสานเพลง

จากการวิเคราะห์ดนตรีการนมัสการในวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ ใช้เสียงร้องเป็นหลักทั้งเสียงร้องชายและหญิง และร้องพร้อมกันในบางเพลง โดยมีออร์แกนเล่นประกอบ ในลักษณะการดำเนินทำนองแบบโฮโมโฟนีใช้ระบบเสียงแบบไดอะทอนิก ที่มีรูปลักษณ์ของท่วงทำนองเป็นแบบเชื่อมโยงต่อเนื่องกันรูปแบบการประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบ Stopic Form and variationบทเพลงนมัสการต่างๆ ล้วนมีความหมายที่แสดงถึงการวิงวอนและการสรรเสริญพระเจ้าหรือบุคคลสำคัญทางศาสนาคริสต์เป็นหลัก โดยทุกบทเพลงที่ประกอบในพิธีกรรมล้วนทำหน้าที่สนับสนุนและเกื้อหนุนการประกอบพิธีกรรมที่จะประกอบขึ้นภายในวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ ทั้งสิ้น

 

The aim of the study is to study music used for paying homage in the Catholic religion of Holy Rosary Church by using datum from recordings, documental interviews, experts and musicians. It is known that...Music Christianity Hymn of Holy Rosary Church began many years ago and is played in this time. Christianity Hymn is played in churches to pay homage to God. Most musicians are Catholic, and some are students who are interested in playing musical instruments.

The songs are for paying homage to God in ceremonies each year in Roman Catholic established from the Jewish calendar at specific times or as announced by the Vatican. November is the first celebration month to worship God, Jesus Christ, King of the Universe. After four weeks, Christmas is celebrated on the 24th December, until the middle of January. Then normal festivals are celebrated like MahaProt in the middle of February. It must be held on a Wednesday called “Inner Wednesday” that lasts about five weeks. Next is “Bailaan Sunday” or the week of suffering for God. These happen yearly. Songs used in ceremonies are from older music books or some newly written ones. To select songs, singers may select them by themselves in both English and Thai. Musicians and singers may be dressed in costumes that are suitable to each festivals.

From the critic, the Christianity Hymn of Holy Rosary Church voices of males and females are principally used including some singing that they sing together by using organs in Homophony (harmonic) style, twelve Western Tuning Systems, Melodic Contour and Conjunction, most poems are in Stopic Form and variation and their meanings are to beg or praise God or important people in the Catholic Religion. Each song used in the ceremonies are to be supportive of having the ceremony in the Church.

 

Article Details

How to Cite
ชอบชื่นสุข พ. (2015). ศึกษาวัฒนธรรมดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก : กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำกาลหว่าร์ The Musical Study Of The Greatness Of Roman Catholic : Case Study The Holy Rosary Church Bangkok. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(2), 195–208. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/30086
Section
Research Articles