การศึกษาสภาพปัญหาการสอนวิชาดนตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 The Study of Music Teaching Problems of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 31

Main Article Content

มานะ พิณจะโปะ

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปัญหาการสอนวิชาดนตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนวิชาดนตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 52 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9928  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS  ผลการวิจัยพบว่าสภาพการเรียนการสอนมีระดับปฏิบัติเกี่ยวกับการแปรหลักสูตรไปสู่การสอนอยู่ในระดับมาก (= 3.56, S.D. = 0.46) การจัดกิจกรรมการสอนดนตรีอยู่ในระดับมาก (= 3.26, S.D. = 0.69) การใช้สื่อการสอนประกอบการเรียนการสอน (= 2.80, S.D. = 0.78) การวัดผลประเมินผลด้านดนตรี (= 3.03, S.D. = 0.69) และด้านความรู้ความสามารถด้านเนื้อหาสาระวิชาดนตรี (= 3.13, S.D. = 0.73) อยู่ในระดับปานกลาง ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติ(= 2.33, S.D. = 0.85)  อยู่ในระดับน้อย

 

This survey research aimed to study the music teaching problems of schools under the Secondary Educational Service Area 31. Samples used in this research were 52 music teachers of schools under the Secondary Educational Service Area 31 obtained by simple random sampling method, while the sample size was determined according to Krejcie and Morgan’ Table. The research tool was 5 rating scale questionnaires with its reliability of 0.9928. Data were analyzed and processed by SPSS application software and the statistics used were percentage, mean and standard deviation. The results revealed that the music teaching problems had its practice on the modification of a curriculum into teaching process overall in high level (= 3.56, S.D. = 0.46), providing of activities for music teaching in high level (= 3.26, S.D. = 0.69); while the using of instruction media (= 2.80, S.D. = 0.78), evaluation of musing learning (= 3.03, S.D. = 0.69) and knowledge on music contents (= 3.13, S.D. = 0.73) was in medium level; whereas knowledge on practice skill (= 2.33, S.D. = 0.85) was in low level.

 

Article Details

How to Cite
พิณจะโปะ ม. (2015). การศึกษาสภาพปัญหาการสอนวิชาดนตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 The Study of Music Teaching Problems of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 31. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(2), 139–157. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/30075
Section
Research Articles