โนราแขก : การปรับเปลี่ยนการแสดงเพื่อวัฒนธรรมชุมชน

Main Article Content

ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์

Abstract

การศึกษาวิจัย เรื่อง โนราแขก : การปรับเปลี่ยนการแสดงเพื่อวัฒนธรรมชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติความเป็นมา รูปแบบ อิทธิพลของการแสดงภาคใต้ การปรับเปลี่ยนและบทบาทโนราแขกในจังหวัดนราธิวาส วิธีวิจัยใช้การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ สังเกตการณ์แสดงคณะโนรา ถวิล จำปาทอง จังหวัดพัทลุง มะโย่งคณะ กู สรี จังหวัดปัตตานี โนราแขกคณะจ้วน สองชีวิต จังหวัดนราธิวาส ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ปรากฏอยู่ในการแสดงโนราแขกของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส จะมีรูปแบบการแสดงเป็นของตนเองโดยเฉพาะ โนราแขกปรับเปลี่ยนการแสดงมาจากโนราของชาวไทยพุทธ และการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสลิม ซึ่งมีการรำร้องและแสดงเป็นเรื่องแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรมและความบันเทิง ผู้แสดงที่สำคัญ คือ พ่อโนรา นางรำ และพราน จะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่งในเรื่องของการร่ายรำ การแต่งกาย การขับร้อง-ดนตรี มาใช้แสดงร่วมกัน คือ พ่อโนรา แต่งกายแบบโนรา ขับร้องเจรจาเป็นภาษามลายูถิ่น ผู้ชมชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม จะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนาน และเข้าใจในศิลปะการแสดง โนราแขกมีบทบาทในสังคมภาคใต้ ๗ ประการ คือ ๑. เป็นเครื่องนันทนาการของชาวบ้าน ๒. เป็นสื่อในการติดต่อกับวิญญาณสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ ๓. เป็นสื่อมวลชนชาวบ้าน ๔. เป็นสิ่งสืบสานสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ๕. เป็นการพัฒนาคุณภาพประชากร ๖. เป็นการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ๗. เป็นการรักษาความมั่นคงของชาติ การแสดงโนราแขกปรากฏอยู่เฉพาะจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี ความสนใจในการแสดงโนราแขกเริ่มลดลง

 

Nora Kaek : Performance Adaptations for Community Cultune

The objective of the research study entitled Nora Kaek : Performance Adaptations for Community Culture was to study Nora Kaek in Narathiwat Province with reference to its history, forms, influence on performance in the south, adaptations, and roles, The method of research involved related documents, interviews, and observations pertaining to the Nora troupe of Tawin Jumpatong in Pattalung Province, the Ku Sari Mayong troupe in Pattani Province, and the Nora kaek troupe of Juan Songcheewit in Narahiwat Province. The research findings are as follows. The things that appeared in the Nora kaek performance of Pattani and Narathiwat provinces carried their own indentities and forms. The Nora Kaek performance was adapted from the Nora of Buddhist Thais and the Mayong of Muslim Thais, consisting of dance and singing along with its performance involving a fully developed story. The purposes of the performance were to accompany a ritual and for entertainment. The main character were a Nora father, female dancers, and a hunter. The unique Nora and Mayong features of dance, costume, and singing-music were combined for the performance characterized by the following. The Nora father was dressed in Nora style, singing and conversing in Thai as well as in local Malay. Muslim-Thai dancers wore local-style clothes and sang and conversed in local Malay. An audience of Buddhist Thais and Muslim Thais would enjoy watching the Nora Kaek together and quite comprehend the art of this performance. The roles of the Nora kaek in the society of the South were seven : ๑. it served as a form of folk entertainment; ๒. it was a medium of communicating with the supernatural; ๓. it acted as a kind of mass media; ๔. it forged and fostered social relations; ๕. it developed the quality of population; ๖. it enhanced economic status; ๗. it preserves national security. The Nora kaek performance was found only in Narathiwat and Pattani Provinces. Its popularity was in the decline.

Article Details

How to Cite
นิคมรัตน์ ธ. (2014). โนราแขก : การปรับเปลี่ยนการแสดงเพื่อวัฒนธรรมชุมชน. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 2(2), 78–86. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27260
Section
Research Articles