เถียงนา : รูปแบบ และการใช้งานในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอีสาน

Main Article Content

กิตติสันต์ ศรีรักษา

Abstract

เถียงนาเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอยเกี่ยวพันกับการทำนาในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอีสาน เป็นวัตถุวัฒนธรรมในแบบฉบับของภูมิปัญญาพื้นถิ่น ซึ่งมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมไท-ลาวของชาวนาในภาคอีสาน เป็นการสร้างสรรค์ที่มาจากภูมิปัญญาอันบริสุทธิ์แบบพื้นบ้านของชาวนาอีสาน ที่สืบทอดมาจากอดีต เกิดจากหลายๆ องค์ประกอบ เช่น วัสดุ และทำเลที่ตั้ง ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบทางกายภาพที่สามารถมองเห็น หรือรับรู้ได้โดยตรง จากการที่เจ้าของเถียงนา ลงมือปลูกสร้างด้วยตัวเอง เป็นการปลูกสร้างที่ลงตัวกับสภาพแวดล้อมรอบข้างสามารถแบ่งรูปแบบของเถียงนาได้ ๕ ลักษณะใหญ่ๆ คือ ๑) เถียงนาพื้นติดดิน แบ่งเป็น ๒ แบบ ได้แก่ แบบใช้พื้นดินเป็นพื้นนั่ง และแบบใช้แคร่เป็นพื้นนั่ง ๒) เถียงนายกพื้นสูงจากดินระดับเดียว ๓) เถียงนายกพื้นสูงจากดิน ๒ ระดับ ๔) เถียงนายกพื้นสูงจากดินหลายระดับ ๕) เถียงนาประเภทเคลื่อนที่ได้ และสามารถจำแนก รูปแบบการใช้งานของเถียงนาได้ ๒ ลักษณะคือ ในทางพื้นที่ ใช้ประกอบกิจกรรมประเภทเดียวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำนา และในทางสังคม หรือชุมชน ใช้ประกอบกิจกรรมหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ คือ “ ประเพณีฮีตสิบสอง ” ควบคู่ไปกับการทำนา

ปัจจุบัน แม้สังคมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่วิถีชีวิตของชาวอีสาน ยังคงเกี่ยวพันอย่างเหนียวแน่นกับการทำเกษตรกรรมเช่นเดิม เป็นการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่กับการทำนา และธรรมชาติ ด้วยเหตุดังกล่าว เถียงนาจึงเป็นสถานที่สำคัญ ที่สามารถสะท้อนภาพวิถีการดำเนินชีวิตของชาวนาอีสานได้เป็นอย่างดี และเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่อยู่คู่กับท้องทุ่งนาของชาวอีสานมาอย่างยาวนาน

 

Isaan Hut: Form and Functions in rice culture of Isaan farmer

Isaan farmer learns their way of farming from ancestor. They have to follow the pattern and practice until it’s become their culture which directly related to rice. Isaan hut is a temporary type of local architecture, and is build to use as shelter during the farming season of Isaan farmer. It is the cultural object which reflects the Tai-Lao cultural base of farmer in Isaan. The creation of pure local wisdom of farmer which inherited from the past; consist of many components i.e. material, location and a construction that suit well with the environment. They could be divided into ๕ major forms; ๑) Grounded hut could be divided into ๒ forms; ground-seated and use a litter to sit on ๒) One level platform hut ๓) Two level platform hut ๔) Multi level platform hut ๕) Moveable hut. The characteristic and function-use of hut could be categorized into ๒ types, and it will be used in rice field for any activities which directly involve with farming. Also it play role in the society or community involving with many kinds of activity related to believe of Isaan farmer like “Heet Sib Song” tradition. Even though the society itself has changed periodically, Isaan way of life is still strongly related with agriculture as usual. It is a simple way of life, living with farming and nature. Therefore, Isaan hut is important which clearly reflect to the live of Isaan farmer in their rice culture from the

Article Details

How to Cite
ศรีรักษา ก. (2014). เถียงนา : รูปแบบ และการใช้งานในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอีสาน. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 2(2), 45–62. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27257
Section
Research Articles