ดนตรีพิธีกรรมของชาวเมี่ยน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ณัฏฐนิช นักปี่

Abstract

การวิจัยเรื่อง “ดนตรีพิธีกรรมของชาวเมี่ยน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร” เป็นงานวิจัยที่เกิดจากการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดนตรีวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมวัฒนธรรมของชาวเมี่ยน ลักษณะทางกายภาพ ระบบเสียงของเครื่องดนตรี และดนตรีพิธีกรรมของชาวเมี่ยน

ผลจากการศึกษาพบว่า สังคมวัฒนธรรมของชาวเมี่ยนนั้นมีความคล้ายคลึงกับชาวจีนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของจีน ชาวเมี่ยนมีภาษาพูดเป็นของตนเอง มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีประเพณีพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นว่าชาวเมี่ยนมีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ทั้งยังมีดนตรีที่ใช้เป็นสื่อในการประกอบพิธีกรรมและสร้างความบันเทิง

เครื่องดนตรีของชาวเมี่ยนมี 5 ชนิด เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงมี 2 ชนิด คือ หยัด (ปี่) หง่งจอง (แตรเขาควาย) นอกจากนี้เป็นเครื่องประกอบจังหวะคือ โย๋ (กลอง) มัง (ฆ้อง) และเช่าเจ้ย (ฉาบ)

หยัด มีส่วนประกอบ 5 ส่วน ดังนี้ ส่าว (ลิ้นปี่) หยัดจาง (กำพวดปี่) หยัดเฟี้ยน (กะบังลม) หยัดแกว้ง (เลาปี่) และหยัดฮอย (ลำโพงปี่) หง่งจองมีลักษณะเป็นแตรทำ มาจากเขาควาย โย๋มีลักษณะเป็นกลองสองหน้าที่มีลิ่มไม้ขัดไปมารอบหุ่นกลอง มังมีลักษณะเป็นฆ้องที่ด้านหน้าเรียบไม่มีปุ่มยื่นออกมา และเช่าเจ้ยมีลักษณะเหมือนฉาบใหญ่หรือฉาบเล็กที่ใช้ทั่วไป

ดนตรีพิธีกรรมมีบทบาทต่อสังคมชาวเมี่ยนทั้งหมด 5 ด้าน คือ บทบาททางด้านความเชื่อ ความบันเทิง การสื่อสาร ฐานะทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม

 

Music in the Ceremonies of the Mien people from Khlong Lan District, Kamphaeng Phet Province, Thailand

For this research project, “Music in the Ceremonies of the Mien people from Khlong Lan District, Kamphaeng Phet Province, Thailand” was submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of Master of Arts Program in Music; Faculty of Graduate Studies, Mahidol University. The qualitative research method was used. The objectives were to study the social and cultural characteristics of the Mien people, including their physical characteristics, musical instrument characteristics, and their ceremonial music.

The results of the study found that the culture and society of the Mien people is similar to the Chinese people because this ethnic group migrated from southern China. The Mien people speak Chinese, but with their own accent, and they also wear unique clothes. They have ceremonial traditions indicating that they believe in their ancestors and their holy ghosts. In addition, their music is used as a medium of worship and entertainment.

There are five types of musical instruments. The melodic instruments include the Djat (Oboe) and the Ngong Jong (Buffalo Horn). The rhythmic instruments include Yoe (Drum), Mung (Gong) and Chao Joei (Cymbals).

The Djat consists of five parts as follows: Sao (reed), Djat Jang (mouthpiece), Djat Fian (pirouette), Djat Kwang (pipe) and Djat Hoi (bell). The Ngong Jong is made from a buffalo horn. The Yoe is two-sided drum with a decoration of wooden wedges that surround it. The Mung is a gong with a smooth surface. Chao Joei are cymbals that come in different sizes.

Music ceremonies affect five aspects of Mien society including belief, entertainment, communication, social status and cultural changes.

Article Details

How to Cite
นักปี่ ณ. (2014). ดนตรีพิธีกรรมของชาวเมี่ยน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 3(1), 142–164. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27230
Section
Research Articles