รอยวัฒนธรรมอีสาน

Main Article Content

จุรีรัตน์ ทวยสม

Abstract

การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง รอยวัฒนธรรมอีสาน ได้รับแรง บันดาลใจมาจากวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นชนบทอีสาน การทอเสื่อเป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่งของครัวเรือนซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนอีสาน การสร้างสรรค์วิทยานิพนธ์ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเทคนิควิธีการในการสร้างงานหัตถกรรมโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่น และสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสมเพื่อสื่อความหมายถึงรอยแห่งวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้เทคนิคการย้อมสี การถักทอ การผูก การสอดประสาน เป็นผลงานทัศนศิลป์จำนวน 5 ชิ้น

ผลจากการสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์พบว่า การนำต้นกกซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่นมาตัดสอยออกเป็นเส้น ตากแห้ง ย้อมสี และถักทอให้เกิดความงามทางด้านทัศนศิลป์การสอดผสานกันอย่างหนาแน่นของเส้นกก มีการผูกมัดเป็นปม และการเว้นระยะห่างของเส้นแสดงออกถึงการสะสมความดีงามที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และแสดงถึงความผูกพันของคนในท้องถิ่น ลักษณะของเส้นกกที่เป็นเส้นตรงและเส้นโค้งเปรียบเสมือนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดถูกหล่อหลอมรวมกันเป็นสังคมเดียวกัน ส่วนสีโทนนํ้าตาลแสดงออกถึงความรักและความอบอุ่นของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ การจัดองค์ประกอบใน ผลงานพบว่ารูปทรงและทัศนธาตุที่สื่อแสดงถึง ความดีงามของวิถีชีวิตคนในท้องถิ่น ด้วยวัสดุต้นกกมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำหนด สามารถถ่ายทอดความงามด้านทัศนศิลป์ที่ไม่เพียงเป็นการถ่ายทอดสาระความดีงามของวัฒนธรรมเท่านั้น แต่รอยวัฒนธรรมคือการถ่ายทอดความดีงามจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งปัจจุบันกำลังเลือนหายไป

โดยสรุป การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ชุดนี้ ได้ก่อให้เกิดข้อค้นพบ ใหม่ในผลงานด้านทัศนศิลป์ ประเภทจิตรกรรมสื่อผสม โดยนำวัสดุท้องถิ่น คือต้นกก มาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้านศิลปะขั้นสูงที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตน สามารถสื่อให้ ผู้ชมผลงานเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยทางวัฒนธรรมที่มีความผูกพัน ความประทับใจในความงามของวิถีชีวิตคนในท้องถิ่นอีสาน ซึ่งถือเป็นสิ่งมีคุณค่าทางจิตใจและประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นได้อีกด้วย

 

Cultural Clue of a Community in Isan

This created thesis on ‘Cultural Clue of a Community in Isan’ was influenced by the way of life of a Isan community. As family handicraft, weaving reed mats was regarded as an intellectual heritage of Isan people. The aims of this thesis were to study techniques of creating handicraft using natural materials that grew in the rural areas and to create mixed media painting in order to display cultural clues in an Isan community. The techniques used were dyeing, weaving, tying, and inserting the reed threads making five visual arts.

The results of the study revealed that the reeds, a kind of a natural plant, grew in the rural area of Isan. They were carefully sliced in full length as threads. Before weaving into mats, the threads were left to expose to the sun and later dyed. The reed mats were considered to be fine visual arts. The dry reed threads were densely weaved together with both ends knotted. The space between threads represented the accumulation of goodness passing down from one generation to the next and close relations among people in the community. The straight and curved threads were comparatively similar to the people’s way of life that had differences among themselves, yet they were melted together to be one. The color tone, such as, brown indicated love and warmth of the people in the community. In addition, the organization of factors found in the visual arts illustrated shapes and visual elements representing goodness of the people’s way of life using the reed threads that were related to the content of the study. As a whole, the organization of factors could not only transmit the visual beauty, such as, content, goodness of culture, but also the cultural clue that transmitted goodness, now was in the stage of fading away, from one generation to the next.

In conclusion, this thesis had discovered something new in the visual arts. It was the mixed media painting using the reed threads creating an advanced art with its own cultural identity. It enabled the viewers to fully appreciate the value of art and reflected cultural clues of close ties, impression of the beauty of Isan people’s way of life which were valued highly mentally, culturally and identically.

Article Details

How to Cite
ทวยสม จ. (2014). รอยวัฒนธรรมอีสาน. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 3(2), 38–55. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27205
Section
Research Articles