ชุดการสอน สาระดนตรี เรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

กฤตินี เงินสมบัติ

Abstract

งานวิจัยเรื่อง “ชุดการสอน สาระดนตรี เรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดการสอน ให้มีประสิทธิภาพเท่าเกณฑ์มาตรฐานหรือสูงกว่า 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน และเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการสอน สาระดนตรี เรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียนเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย (3) แบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการสอน

ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอน สาระดนตรี เรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ 88.08/82.97 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 ซึ่งแสดงว่าชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามสมมุติฐาน ผลการทดสอบก่อนเรียนกับการทดสอบหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.49 ซึ่งมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ เห็นด้วย ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน

 

A study of the efficiency of teaching the rhythm of Thai music for Prathomsuksa5 with the theory of problem-based learning

This study was experimental research which aimed to produce an instructional package for teaching the rhythm of Thai music, as well as evaluate the efficiency of the package and the student’s opinions towards it.

The sample group of this study consisted of 32 students who were in Prathomsuksa 5/4 from Wat Pomwicheanchotigaram School, 2nd semester, academic year 2011. The tools used in this research were: 1) a music instructional course package in teaching the rhythm of Thai music, 2) a pre-test/post-test, and 3) the survey form of students’ opinions on the instructional package.

It was found that the average result of the test was effective at 88.08/82.97, which was higher than the standard efficiency rate 80/80.The pre-test /post-test obviously confirmed the effectiveness of the instructional packages in improving student knowledge according to the course content. As for student’s opinions towards the instructional package, the results from the questionnaire revealed an average score of 4.49, showed that the students agreed with the music instructional package.

Article Details

How to Cite
เงินสมบัติ ก. (2014). ชุดการสอน สาระดนตรี เรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 4(1), 141–159. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27199
Section
Research Articles