การวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการแสดงาฏศิลป์พื้นบ้านชุด จับปู กรณีศึกษา : บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เรขา อินทรกำแหง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานการวิจัย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การศึกษา และพัฒนานวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด จับปู กรณีศึกษา : บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบของการแสดงด้านนาฏศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์และดนตรี ชุมชน ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานการวิจัยเกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพผ่านการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ การคืนความรู้สู่ชุมชน กิจกรรมขยายฐานความรู้ และการติดตามผล

ขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยพิจารณาจากความสำคัญของพื้นที่ในการวิจัย เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการนำผลงานวิจัยมาใช้ ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจึง ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่อยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมสำหรับแหล่งเรียนรู้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และด้านเนื้อหา ได้แก่ การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการประกอบอาชีพ ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด จับปู

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ในรูปแบบของการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ที่ไม่เป็นทางการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ และแบบสัมภาษณ์เพื่อการติดตามผล

ผลงานการสร้างสรรค์การแสดงได้พัฒนาจากบริบทวิถีชีวิตในการจับปู นำลักษณะท่าทางกิริยาอาการต่างๆ ในการหาปู จับปู และขุดปู ร่วมกับลักษณะเด่นของปู กิริยาอาการต่างๆ ของปู นำมาบูรณาการ กับการแสดงทางด้านนาฏศิลป์ และสร้างสรรค์ออกมาเป็นการแสดง ที่ใช้ชื่อชุดการแสดงนี้ว่า จับปู

ลีล่าท่าทางการร่ายรำและลักษณะของการแสดงชุดนี้ จะนำเสนอโดย แบ่งนักแสดงเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มนักแสดงฝ่ายหญิง จะแสดงลักษณะท่าทางของปู และฝ่ายชายจะแสดงลักษณะท่าทางการจับปู ลีลาท่าทางการไล่จับ ผสมผสานใช้กับการหยอกล้อของหนุ่มสาวตามแบบชนชาวอีสาน อุปกรณ์สำหรับการแสดงจึงประกอบด้วย หมวง, เสียม และย่าม ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงได้แก่ วงโปงลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ประกอบจังหวะได้สนุกสนาน การแสดงชุดนี้จึงดำเนินไปอย่างความเร้าใจ

ผลการวิจัยพบว่า

1. แสดงชุด จับปู เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นวิถีชีวิตในชุมชน ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับการแสดงและวิถีชีวิตของตน ทั้งนี้การปลูกฝังในรากเหง้าของวิถีชีวิตให้กับเยาวชน จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ความรักในท้องถิ่น เกิดความหวงแหนในวัฒนธรรม และนำมาสู่การอนุรักษ์และสืบสานในอนาคต

2. การแสดงเป็นสื่อกลาง ช่วยสร้างความสัมพันธ์ในการประกอบกิจกรรมร่วมกันโดยความเชื่อมโยงระหว่างปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียน ผู้นำชุมชน และคนในชุมชน ก่อเกิดเป็นความสามัคคี เสียสละและการแบ่งปันความรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน

3. ชุมชนสามารถนำความรู้และแนวคิดจากกระบวนการดำเนินงานวิจัย ไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชน ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ การพัฒนางานนำไปสู่การมีส่วนร่วมภายในชุมชน

4. การดำเนินกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ปกครอง บุตรหลาน ครู และชุมชนได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดจนการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์และความเข้าใจอันดียิ่งขึ้น

5. การแสดงที่แสดงโดยคนในชุมชน สามารถช่วยกระตุ้นให้กิจกรรม น่าสนใจ และเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนออกมาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอย การจัดแสดงร้านค้าหรือการเข้าร่วมรับชมการแสดง เป็นต้น 6. กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนชุมชนได้ทำการแสดงจะช่วยพัฒนาการแสดงให้มีความหลากหลายและสวยงามยิ่งขึ้น นำไปสู่การรองรับแหล่งเรียนรู้ในอนาคต คนในชุมชนจะเกิดการมีส่วนร่วม เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจและรายได้ขนาดย่อมภายในชุมชน

 

The Creative Economy for the Study and Development of the Innovation for Local Performing Art Entitled Catching Crabs: A Case Study of Nonewat Village Polsongkram Sub-district Nonesoong District Nakhon Ratchasima Province

The study of the creative economy for the study and development of the innovation for the local performing art entitled catching crabs: a case study of Nonewat Village Polsongkram Sub-district, Nonesoong District, Nakhon Ratchasima Province aimed to develop the local innovation in the form of performing art with the integration of the participatory action research among the researcher, local scholars, local performing art and music experts, community and students. These activities were part of the research methodology. The effective implication of the research results was conducted through the findings’ dissemination to the community, knowledge expansion and follow-up.

For the scope of this study, purposive sampling method was conducted with the consideration of the importance of the areas. To obtain the effective and implacable findings, the sample groups were the communities in Polsongkram Sub-district, Nonesoong District, Nakhon Ratchasima Province. These communities were projected to be the pre-historic learning center in the future. The research content covered the integration of local wisdom in the occupation with the creative economy for the study and development of the innovation for the local performing art entitled catching crabs. Unstructured interview was the research instrument and consisted of two parts namely the data collection for the creativity interview and follow-up interview.

This performing art was developed from the local way of living called catching the crabs. The human and crab’s gestures were integrated in this show and presented by two groups of male and female dancers. The first group presented the crabs’ movements. The second group presented the catching procedures and the flirting of the north eastern local couples. The props in the show consisted of poles, hoes and satchels. The background music was the northeastern band called “Pong Lang” with the fun and lively tone.

The findings indicated that

1. The local performing art “catching crabs” represented the local way of living that created the bondage between the show and the way of living. The way of life embedding in the new descendants could make them proud of their community, love in the culture and eventually lead to the preservation in the future.

2. The show was the intermediary that enhanced the relationship among local experts, schools, community and community leaders. It was also supported the unity, dedication and knowledge sharing in the community.

3. Community could implicate the research methodology concepts and procedures into the development of other activities which could also stimulate the learning and community’s participation. The activity management could create the opportunity for the parents, children, teachers and schools to exchange the ideas and strengthen the relationship.

4. The show performed by the locals increased the interest and supported the community’s participation.

5. This show created the opportunity for the locals to perform and develop their performance which expected to lead to the future learning center establishment. Additionally, it could support the community’s participation and increase the community’s income.

Article Details

How to Cite
อินทรกำแหง เ. (2014). การวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการแสดงาฏศิลป์พื้นบ้านชุด จับปู กรณีศึกษา : บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 4(1), 98–121. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27194
Section
Research Articles