การสร้างทฤษฎีระบบใหม่ : เพื่อใช้ในการออกแบบแผนที่กราฟิกระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
บทความนี้จะกล่าวถึง กระบวนการออกแบบกราฟิกสารสนเทศ (Information Design) ให้กับ “ระบบแผนที่ขนส่งสาธารณะภายในเขตเทศบาลนคร ขอนแก่น” โดยระบบแผนที่ดังกล่าวจะรวมข้อมูลการให้บริการของรถโดยสารประจำ ทางหมวด 1 หรือ ที่เรียกว่า “รถสองแถว” และระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ “บีอาร์ที” ซึ่งประเด็นสำคัญทางการศึกษาและพัฒนากระบวนการออกแบบเนื้อหา กราฟิกบนตัวแผนที่นั้น จะถูกสร้างขึ้นมาจากกรอบแนวคิดทางการออกแบบโดยใช้ ทฤษฎีระบบรูปแบบใหม่ ที่ถูกบูรณาการขึ้นโดยผู้วิจัย ซึ่งคำว่า “ทฤษฎีระบบใหม่” หรือ New “Systems Theory” ในบทความนี้ จะกล่าวถึงการกำหนดกระบวนการ ทาง “ทฤษฎีระบบ” รูปแบบใหม่ ที่ได้ทดลองสร้างขึ้น เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิด ทางการศึกษา และพัฒนากระบวนการออกแบบระบบแผนที่ดังกล่าว โดยโครงสร้าง หลักของ “ทฤษฎีระบบใหม่” นี้ จะประกอบไปด้วย 3 ลำดับขั้นตอน ในการบูรณ การกรอบแนวคิด เพื่อการพัฒนา “ทฤษฎีระบบใหม่” โดยเริ่มต้นจาก ขั้นตอนที่ 1 คือ การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในระดับขั้นของระบบปรัชญา (Philosophy level) ขั้นตอน ที่ 2 นำแนวคิดหลักภายใต้ระบบปรัชญา ไปกำหนดกรอบแนวคิด ทางทฤษฎี (Theoretical Framework level) และขั้นตอนที่ 3 คือ การประยุกต์ใช้ และบูรณาการ ทฤษฎีสำคัญ (Key Theories level) ที่อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดทาง ทฤษฎีจากขั้นตอนที่สอง เพื่อนำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดทางการวิจัย (research framework) อย่างไรก็ตามตัวแปรที่ได้จากการประยุกต์ใช้ “ทฤษฎีระบบใหม่” นั้น ทำให้ค้นพบ องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของชุมชน (Knowledge Base Community) ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และแนวคิดที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง “ปัจจัยมนุษย์” (Human Factors) ที่ถูกจัดเรียงให้ เกิดเป็นรูปธรรม โดยปัจจัยมนุษย์เหล่านี้ ได้ถูกนำมาสังเคราะห์และบูรณาการ เป็นก รอบแนวคิดสำคัญในการออกแบบ (conceptual design) ชุดกราฟิก (เรขศิลป์) ก่อนที่จะทำการแปลงรูปไปสู่ งานรูปแบบกราฟิก (Graphics form) ที่สะท้อนให้ เห็นถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของท้องถิ่น ผ่านระบบแผนที่ขนส่งสาธารณะ จากผลการ ศึกษารวมด้าน การสื่อสาร การใช้งาน และ ความสวยงาม ( =3.72, 92.5%) ได้ สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ “ทฤษฎีระบบใหม่” ในการยกระดับการใช้งาน ด้านการสื่อสาร การอ่าน และการแปรความหมาย ระบบกราฟิกสัญลักษณ์ ให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ในกระบวนการออกแบบแผนที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
New “Systems Theory”: A Design Configuration of the New Transit Map for Khon Kaen City
This paper mentions toward the designing of transit map configuration in Khon Kaen municipality areas. The design contents included the major systems of public transport in the city that follows “Song Thel” (mode 1) and “Bus Rapid Transit” (BRT) systems. The aim of design aspects and materials were contributed from the conceptual framework of “New Systems Theory”; which came from the originally ideas of researcher. The use of “New Systems Theory” in this paper takes the phrase to represent the integration of ideas in my research framework. The research employed this system to define the direction of design development for creating a new transit map in areas of the Khon Kaen municipality. New “systems theory” consists of three levels. It is established at the first level by setting up the three main philosophies to cover the design framework. Each philosophy covers my main theoretical frameworks in the second level. The third level describes the key theories inside my theoretical frameworks. These three levels of new ‘systems theory’ assisted me to inquire into the knowledge base of the stakeholders in the community. The knowledge reflects the local way of life, culture and perspective of the Isan (local people). These (human) factors were arranged to contribute the original design concept for this design project. Finally, the key finding indicated that the communication and recognition levels of local stakeholders stayed at a high score (=3.72 or 92.5%). This result proved the efficiency of my new ‘systems theory’ in enhancing the map reading and interpretative skills of people in the community.
Article Details
Content and information in articles published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is regarded as the opinion and sole responsibility of the author(s) directly; therefore, editors are not obliged to agree to or share any responsibility with regard to the content and information that appears within these articles.
All articles, information, content, image, etc. that have been published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is the copyright of the Journal of Fine and Appllied Arts of Khon Kaen University. Any person or organization who wishes to distribute all or parts of the articles for further dissemination or other usage must first receive permission from the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University before proceeding to do so.