การศึกษากระบวนการเตรียมนักเรียนเข้าแข่งขันเปียโน กรณีศึกษา การแข่งขันรุ่นเล็กงานยามาฮ่า ไทยแลนด์ มิวสิค เฟสติวัล

Main Article Content

สกาวรุ้ง สายบุญมี

Abstract

งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพอันนำ ไปสู่ความสำเร็จของนักเรียนในการแข่งขันเปียโนรุ่นเล็ก งาน Yamaha Thailand Music Festival เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งสัมภาษณ์ครู สอนเปียโน 10 ท่าน ซึ่งเคยมีนักเรียนผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันรายการ นี้อย่างน้อย 2 ปี ผลการวิจัยมีดังนี้

วิธีการสอนของครู ซึ่งครูส่วนใหญ่เริ่มการสอนโดยให้นักเรียนฟังเพลงที่ใช้ใน การแข่งขันเพื่อให้นักเรียนรู้จักและคุ้นเคยกับเพลง จากนั้นจึงให้นักเรียนฝึกซ้อมด้วย ตนเอง หลังจากที่นักเรียนสามารถบรรเลงเพลงได้คล่องแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการ เพิ่มรายละเอียดต่างๆ เข้าไปในบทเพลงเพื่อให้เพลงมีความสมบูรณ์มากขึ้น จากนั้น ครูจะเป็นผู้ใช้เมโทรโนมประกอบ เพื่อให้นักเรียนสามารถบรรเลงได้ถูกต้องตาม จังหวะ สำหรับการสร้างอารมณ์ในบทเพลง บางกรณีครูจะให้นักเรียนร้องโน้ตคลอ ไปกับการบรรเลง หรืออาจใช้การเล่าเรื่องของ รวมถึงการเปรียบเทียบความหมาย ของสัญลักษณ์ต่างๆ ในบทเพลง กับสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ครูจะบันทึกการบรรเลงของนักเรียนไว้ ในรูปแบบของเสียงหรือวีดิโอ เพื่อให้นักเรียน ได้ประเมินตนเองหลังการบรรเลงทุกครั้ง จากนั้นเมื่อนักเรียนสามารถบรรเลงเพลง ได้คล่องแล้ว ครูจึงให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงต่อสาธารณชน เพื่อให้นักเรียนเกิด ความเคยชินต่อการแสดงบทเวทีที่มีผู้ชมจำนวนมาก ซึ่งเป็นการช่วยลดความตื่นเต้น เมื่อต้องขึ้นแสดงบนเวทีการแข่งขัน

การฝึกซ้อมของนักเรียน สำหรับการฝึกซ้อมที่บ้าน ครูควรบอกนักเรียนถึง สิ่งที่ต้องซ้อมในแต่ละสัปดาห์อย่างละเอียด นอกจากนี้ ครูส่วนใหญ่จะให้นักเรียนมา ฝึกซ้อมเพิ่มเติมที่โรงเรียนก่อนการแข่งขันอีกด้วย

การสื่อสารกับผู้ปกครอง ครูส่วนใหญ่มีการพูดคุยกับผู้ปกครองหลังคาบ เรียนของนักเรียนทุกครั้ง โดยชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบถึงพัฒนาการของนักเรียน และ สิ่งที่ครูต้องการให้ฝึกซ้อมต่อไป

บริบทอื่นๆ ได้แก่ คุณลักษณะของนักเรียนที่ครูเลือกเข้าแข่งขัน จะต้อง เป็นนักเรียนที่สนใจการแข่งขัน มีความตั้งใจ มีความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นในการ แข่งขัน อีกทั้งต้องเป็นนักเรียนที่มีความขยันและมีวินัยในการฝึกซ้อม สำหรับเครื่อง แต่งกายที่ใช้ในการแข่งขัน ครูจะให้นักเรียนใส่ชุดที่ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ก่อน การแข่งขัน 1 วัน นักเรียนควรฝึกซ้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งในวันแข่งขัน ครู ส่วนใหญ่จะให้นักเรียนผ่อนคลาย ไม่กดดันนักเรียน แต่จะให้กำลังใจนักเรียนอีกด้วย

 

A Strategy of Instruction for the Student Piano Competition Case Study: the Roon Lek (9-12 Years Old) Category of the Yamaha Thailand Music Festival

This research proposed to identify effective techniques and studio instruction that lead to student success in piano competitions in the Roon Lek (9-12 years old) category of the Yamaha Thailand Music Festival. The instrument used in this research was a semi-structured interview of ten piano teachers who had students advance to the fi nal round in at least two years of the competition. The results were as follows:

1. Teaching Techniques: Most teachers begin their teaching by asking students to listen to the music to provide students with an overall image of the music they are going to play, then letting students study and practice themselves. After that, add other details into the pieces. Teachers can use a metronome to help students play with the precise rhythm. For teaching musical expression, teachers can ask students to sing while they are playing, using teachers’ storytelling or using metaphors. Furthermore, teachers should record students’ performances and let students self-assess. Before the competition, teachers should have students perform to the public as many times as possible.

2. Students’ Practicing: For home practice, teachers should tell students what to practice thoroughly each week. Moreover, most teachers get students to practice more at school before the competition.

3. Communication with Parents: Most teachers talk to parents after every class by telling parents about students’ progress and about what to practice at home.

4. Related Contexts: Students whose teachers choose to participate in the competition must be students who intend to compete, are enthusiastic, are hard-working, and have discipline to practice. Most teachers ask their students to wear comfortable clothes. For the day before the competition, many teachers ask students to practice comfortably only a little to warm up their fi ngers. For the competition day, teachers should let students relax by not pressuring them and encouraging them.

Article Details

How to Cite
สายบุญมี ส. (2014). การศึกษากระบวนการเตรียมนักเรียนเข้าแข่งขันเปียโน กรณีศึกษา การแข่งขันรุ่นเล็กงานยามาฮ่า ไทยแลนด์ มิวสิค เฟสติวัล. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 5(1), 23–44. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27102
Section
Research Articles