การประเมินผลทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคณาจารย์และนิสิต ต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมและรายองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ห้องสมุด อาคารสถานที่ และสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา 2)เพื่อประเมินความ คิดเห็นของคณาจารย์และนิสิตต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมและ รายองค์ประกอบ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่คะแนนเฉลี่ย 3.50 และ 3)เพื่อเปรียบ เทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ จำแนก ตามสถานภาพ สาขาวิชา และอายุ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คณาจารย์ จำนวน 15 คน และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 94 คน รวมจำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 5 ระดับ (Likert scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (One Sample t–test) เพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่คะแนนเฉลี่ย 3.50 และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ เชิงอนุมาน คือ t – test และ F - test ผลการวิจัย พบว่า

1. ความคิดเห็นของคณาจารย์และนิสิตต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียน รู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยรวมและรายองค์ ประกอบด้านอาคารสถานที่ และสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา มีความเหมาะสม อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นรายองค์ประกอบด้านห้องสมุด มีความเหมาะสมอยู่ ในระดับดี

2. การประเมินผลทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมและ รายองค์ประกอบห้องสมุด ไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความ คิดเห็นต่อรายองค์ประกอบด้านอาคารสถานที่ และสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา ตํ่ากว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อทรัพยากรสนับสนุน การเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมและรายองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ห้องสมุด อาคารสถาน ที่ และสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา จำแนกตามสถานภาพ สาขาวิชา และอายุ พบว่า

3.1 กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพ และสังกัดสาขาวิชาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวมและรายองค์ประกอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ

3.2 กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทรัพยากร สนับสนุนการเรียนรู้ ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยรวม รายองค์ประกอบด้านอาคารสถานที่ และ สื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา ไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รายองค์ ประกอบด้านห้องสมุด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

 

The Evaluation of Facilitative Physical Resources for the Graduate Programme at the Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University

The purposes of this research were 1) to elicit and analyze opinions of faculty members and graduate students on facilitative physical resources to be used by students enrolled in the Graduate Programme at the Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University. Their opinions were studied both in a whole, and in particular on 3 elements: the programme’s library, physical building, and learning materials; 2) to evaluate the aforementioned opinions by comparing with the criterion of 3.50; and 3) to compare the opinions according to the sample’s status, academic discipline, and age. The sample consisted of 15 faculty members and 94 graduate students.

The research instrument used to collect the data was a Likerttype, 5 point rating scale questionnaire. The statistical methods used to analyze the data were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance, and Scheffe’ test. The research fi ndings were as follows:

1. Faculty members and graduate students rated the facilitative physical resources at the Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University in a whole as moderately appropriate. When consider in each element, the physical building and learning materials elements were at moderate level while the library element was at a good level.

2. On the evaluation of the facilitative physical resources in a whole compared with the criterion of 3.50, there was not higher than the criteria. When compared the opinions in each element, the opinion of library element was not higher than the criteria while the opinions of physical building and learning materials elements were lower than the criteria.

3. When compared the opinions toward the facilitative physical resources of the Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University as a whole and in particular elements,

3.1 Faculty members and graduate students with different status and academic discipline had statistical different opinions on the whole and in each element.

3.2 Faculty members and graduate students with different age groups had a signifi cant difference on the library element but not on a whole and in other elements

Article Details

How to Cite
วิศวธีรานนท์ อ. (2014). การประเมินผลทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 5(2), 148–173. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/27009
Section
Research Articles