การฝึกซ้อมวงซิมโฟนิค แบนด์ ระดับมัธยมศึกษา เพื่อการประกวด
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการด้านการวางแผนการ ฝึกซ้อมและการฝึกซ้อมเทคนิคด้านการบรรเลงของวงซิมโฟนิค แบนด์ ระดับ มัธยมศึกษา เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ คือ วงซิมโฟนิค แบนด์ จำนวน 5 วง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการ ประกวดในประเทศไทย และเป็นการประกวดประเภทนั่งบรรเลง (Concert Band) ผู้ให้ข้อมูล คือ อาจารย์ผู้ควบคุมวงซิมโฟนิค แบนด์ และครูผู้ฝึกซ้อมกลุ่มย่อย เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า วงซิมโฟนิค แบนด์ ได้มีการวางแผนการฝึกซ้อมโดยแบ่ง เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเปิดและปิดภาคเรียน ซึ่งครูได้จัดให้มีการฝึกซ้อมทุกวัน ยกเว้น วันอาทิตย์ โดยเฉพาะในช่วงเปิดภาคเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ ได้ทำการฝึกซ้อมในช่วงเย็น หลังเลิกเรียน-ช่วงคํ่า ส่วนช่วงปิดภาคเรียน ครูได้จัดช่วงเวลาของการฝึกซ้อมตั้งแต่ ช่วงเช้า-ช่วงคํ่า โดยมีรูปแบบของการฝึกซ้อมต่างๆ เช่น การฝึกซ้อมรวมวง การฝึก ซ้อมกลุ่มย่อย และการฝึกซ้อมส่วนตัวให้ครอบคลุมอยู่ในวันเดียวกัน สำหรับการ วางแผนการฝึกซ้อม ได้มุ่งเน้นเนื้อหาในด้านของการฝึกซ้อมบรรเลงบทเพลงประกวด, การแก้ไขปัญหาและปรับรายละเอียดของบทเพลงให้มีความสมบูรณ์ และการ คัดเลือกนำเอาเทคนิคที่สำคัญจากแบบฝึกหัดต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับบทเพลง ประกวดมาใช้ในการฝึกซ้อม
ด้านเทคนิคการบรรเลงบทเพลงประกวด ได้คำนึงถึงหลักการของการฝึก ซ้อมในเรื่องขององค์ประกอบดนตรีที่เป็นเกณฑ์การตัดสินและการให้คะแนน โดย มีการฝึกซ้อมจากการฟังเสียงต้นแบบ โดยการฟังจากสื่อซีดี (CD), ดิวิดี (DVD), ตัวอย่างเสียงการบรรเลงจากครู และนักเรียนรุ่นพี่ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม การฝึกซ้อมเรื่อง ของการหายใจจากการใช้ลมที่ถูกต้อง โดยใช้แรงและพลังของลมจากการหายใจ ใน การเป่าเพื่อควบคุมเสียงที่ออกมาให้มีคุณภาพ การฝึกซ้อมเรื่องการฟังเสียงหลักจาก กลุ่มเครื่องดนตรีต่างๆ โดยปรับระดับเสียงดัง-เบา ของตนเองให้มีความกลมกลืนกัน ทั้งวง ส่วนปัญหาที่พบ ได้แก่ นักเรียนติดเรียนพิเศษ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยครู จัดประชุมผู้ปกครองและขอความร่วมมือโดยให้นักเรียนเข้าร่วมตารางฝึก ซ้อมได้อย่างเต็มที่ และปัญหาที่เกิดจากการฝึกซ้อมการประกวด ที่นักเรียนมีระดับ ทักษะด้านการบรรเลงที่แตกต่างกัน ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยครูได้กระตุ้น ให้นักเรียนให้มีความกระตือรือร้นในการฝึกซ้อม มอบหมายหน้าที่ให้รุ่นพี่ที่เป็น นักเรียนหัวหน้ากลุ่มทำการฝึกซ้อมให้
SYMPHONIC BAND REHEARSAL IN HIGH SCHOOL LEVEL FOR COMPETITION
The objective of this research was to study the principle of rehearsal planning and rehearsal techniques of symphonic bands at high school level in preparation for competitions. Samplers used in this research were fi ve symphonic bands who received winning prizes in Thailand. Information was provided by symphonic bands’ conductors and sub-sectional group trainers through interviews.
The results cover two sessions of rehearsals which were a rehearsal during school semester and a rehearsal during school break. Rehearsal planning was scheduled to be done on a daily basis except on Sundays. During the school semester, rehearsals are mostly done in the evening time after school whilst rehearsals during school breaks are done in the day. Daily rehearsals should be done in different forms such as full band rehearsals, sectional rehearsals, and individual practices. Rehearsals aim to improve the quality of music; fi xing weak spots and refi ning the overall presentation. Specifi c playing techniques are included in those rehearsals.
For performing techniques for competitions, rehearsals are focused on judging area and marking scheme, listening to sample music from different kinds of media such as CD, DVD, and model playing from trainers. Air control and breathing techniques are also discussed and trained to allow players to have good air control to create good sound quality. Listening to each other and adjusting dynamics can ensure good balance of sound.
Unavailability of students due to afterschool tuition is a usual problem. The suggested solution is to arrange a meeting with parents and discuss the problems. Differences in playing skills among players can also be a problem. This could be solved by assigning senior students to help these players and encouraging students to practice more to improve overall skills and playing quality.Article Details
Content and information in articles published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is regarded as the opinion and sole responsibility of the author(s) directly; therefore, editors are not obliged to agree to or share any responsibility with regard to the content and information that appears within these articles.
All articles, information, content, image, etc. that have been published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is the copyright of the Journal of Fine and Appllied Arts of Khon Kaen University. Any person or organization who wishes to distribute all or parts of the articles for further dissemination or other usage must first receive permission from the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University before proceeding to do so.