วิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงเกียรติยศ : วงดุริยางค์เครื่องลมของวิจิตร์ จิตรรังสรรค์

Main Article Content

ธนพัฒน์ เกิดผล

Abstract

วิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงเกียรติยศ: วงดุริยางค์เครื่อง ลมของวิจิตร์ จิตรรังสรรค์ ผู้วิจัยได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยดังนี้ 1. เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานของวิจิตร์ จิตรรังสรรค์ 2. เพื่อวิเคราะห์วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงเกียรติยศสำหรับวงดุริยางค์ เครื่องลมของวิจิตร์ จิตรรังสรรค์ โดยผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้านมานุษยดุริยางควิทยา วิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงเกียรติยศสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม ของวิจิตร์ จิตรรังสรรค์ จำนวน 13 เพลง ผลการวิจัยพบว่า วิจิตร์ จิตรรังสรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 ภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เริ่มเล่น ดนตรีและสนใจศึกษาการเรียบเรียงเสียงประสาน จึงได้เริ่มฝึกหัดเรียบเรียงเสียง ประสานตั้งแต่ในสมัยเรียนมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม เมื่อเข้า ศึกษาในระดับปริญญาตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมวง CU Band ในขณะ เดียวกันก็ศึกษาวิชาดนตรีเพิ่มขึ้น และได้สร้างสรรค์งานเรียบเรียงเสียงประสานเรื่อย มา การทำงานเริ่มทำงานในวงการดนตรีมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เป็นทั้งผู้ทำ ทรานสโพสิชันโน้ตในห้องบันทึกเสียง โปรดิวเซอร์ นักเรียบเรียงเสียงประสาน และ นักดนตรี ปัจจุบันวิจิตร์ จิตรรังสรรค์ ทำงานเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานเป็นอาชีพ หลัก และเป็นอาจารย์พิเศษสอนด้านทฤษฎีดนตรีและการเรียบเรียงเสียงประสานให้ กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

จากศึกษาวิเคราะห์พบว่า วิจิตร์ จิตรรังสรรค์ มีการเรียบเรียงเสียงประสาน ตามหลักทฤษฎีดนตรีโดยคงไว้ในสิ่งที่ดีอยู่แล้ว และมีการรังสรรค์สิ่งใหม่เพิ่มเติม ทำให้เกิดความน่าสนใจ บทเพลงเกียรติยศทั้ง 13 เพลง มีเนื้อดนตรีแบบโฮโมโฟนี และในบางเพลงมีการแต่งทำนองช่วงนำขึ้นใหม่ การแต่งทำนองสอดประสาน มีการ ใช้คอร์ดหลายชนิด ทั้งคอร์ดพื้นฐานในกุญแจเสียงหลัก และคอร์ดโครมาติก เคเดนซ์ ที่นำมาใช้ ได้แก่ เคเดนซ์ปิดแบบสมบูรณ์ เคเดนซ์ปิดแบบไม่สมบูรณ์ เคเดนซ์กึ่งปิด เคเดนซ์ขัด และเคเดนซ์เปิด ด้านสีสันของเสียงมีการกระจายหน้าที่ให้แต่ละแนวเสียง อย่างทั่วถึง มีการสลับการบรรเลงทำนองหลักระหว่างแนวเสียงสูงกับแนวเสียงตํ่าซึ่งเป็นการแบ่งกลุ่มเสียงที่ครอบคลุมทำให้แต่ละแนวเสียงมีความสำคัญ แม้ว่าจะมี ข้อจำกัดด้านรูปแบบวงที่มีเพียงรูปแบบเดียวกับบทเพลงที่มีลักษณะและอารมณ์ที่ หลากหลาย แต่วิจิตร์ จิตรรังสรรค์ก็สามารถจินตนาการออกแบบสีสันของเสียงให้ แต่ละบทเพลงได้อย่างเหมาะสมลงตัว

 

An Analysis of the Musical Arrangement of Song of Honor: Symphonic Band by Wijit Jitrangsan

The main objective of the research of an analysis of musical arrangement of song of honor: symphonic band by Wijit Jitrangsan are as following: 1) to study Wijit Jitrangsan’s biography and his works. 2) to study an analysis of song of honor arranged for symphonic band by Wijit Jitrangsan. The researcher conducted by using the ethnomusicology method to analyze 13 songs of honor was arranged by Wijit Jitrangsan.

The results of the study found that Wijit Jitrangsan was born on may 30, 1956, lives in Bangkok. First he started playing music and has been interested in music arrangement since he studied in Wat Suthiwararam School. During his university years, he joined the Chulalongkorn University Band (CU Band). At the mean time, he studied music theory more and created the arrangement works since then. He was also a music sheet transposer in the studio, a producer, a music arranger and a musician. Nowadays, he works as a music arranger for the main career and also be the special instructor of music theory and arrangement at different educational institutes.

From the analysis, Wijit Jitrangsan has arranged songs according to the music theory, remained the good point and created the new ideas to make song more interesting. Music texture of all 13 songs of honor is homophony and some songs were created the new introduction, the new counterpoint. Many chords are applied to harmony in both diatonic chord and chromatic chord. The used cadences are perfect authentic cadence, imperfect authentic cadence, plagal cadence, deceptive cadence and half cadence. In tone color, these are contributing function to each part, playing by swapping between soprano and bass in main melody. This is the orchestration that makes each part is important. Although there is a limit of only one form of symphonic band with various emotions and characteristics, Wijit Jitrangsan can imagine to create suitably tone color for each song.

Article Details

How to Cite
เกิดผล ธ. (2014). วิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงเกียรติยศ : วงดุริยางค์เครื่องลมของวิจิตร์ จิตรรังสรรค์. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(1), 89–111. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/26948
Section
Research Articles