วีดิทัศน์ เรื่อง ศัพท์เทคนิคการบรรเลงจะเข้ขั้นพื้นฐาน ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

นัชภา เปียผึ้ง
ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์
อนรรฆ จรัณยานนท์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างวีดิทัศน์ เรื่องศัพท์เทคนิคการบรรเลงจะเข้ขั้นพื้นฐาน ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 12 คำ ได้แก่ กรอ เก็บ ขยี้ ดีดกระทบ ทิงนอย ตบสาย ปริบ โปรยเสียงไม้ออก-ไม้เข้า ไม้เริ่ม รูด สะบัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย (1) วีดิทัศน์เรื่อง ศัพท์เทคนิคการบรรเลงจะเข้ขั้นพื้นฐาน ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเองระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (2) แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) (3) แบบสำรวจเจตคติของนักเรียนต่อวีดิทัศน์ชุดนี้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างทดลองได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 38 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนทั้งภาคทฤษฎี และภาคการฟัง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า วีดิทัศน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเป็นไปตามสมมุติฐาน ซึ่งผลการทดสอบก่อนเรียน และการทดสอบหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <0.05 และนักเรียนมีเจตคติต่อ วีดิทัศน์ เรื่อง ศัพท์เทคนิคการบรรเลงจะเข้ขั้นพื้นฐาน ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน

 

Self-learning Visual Multimedia : Technical Terms of Jakae Performance for Secondary students

The objective of this study was to create self-learning visual multimedia about technical terms of Jakae performance for secondary students, totaling 12 terms, including 1) Kraw, 2) Keb, 3) Kayee, 4) Ded Kra Tob, 5) Thing Noi, 6) Tob Sai, 7) Prib, 8) Proy, 9) Mai Auk–Mai Kao, 10) Mai Ream, 11) Rude, and 12) Sabud. The research tool was composed of (1) a video about the technical terms of Jakae performance for secondary students, (2) pre-test and post-test, and (3) an attitude survey. The trial sample was 38 secondary students at Pakthongchaiprachaniramit School, Nakhonratchasima. The results indicated that the students had an average post test score higher than the average pretest score, in both the theory part and the listening part. That means this selflearning visual multimedia, which the researcher created, was effective in line with the hypothesis. Meanwhile, the post-test score and pre-test score were signifi cantly different (p <0.05) as well as were the students’attitudes towards self-learning visual multimedia regarding technical terms of Jakae performance for secondary school students, which were positive.


Article Details

How to Cite
เปียผึ้ง น., หิรัญรักษ์ ศ., & จรัณยานนท์ อ. (2014). วีดิทัศน์ เรื่อง ศัพท์เทคนิคการบรรเลงจะเข้ขั้นพื้นฐาน ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(1), 24–45. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/26936
Section
Research Articles