เครื่องดนตรีที่สูญหายจากวัฒนธรรมกะเหรี่ยงไล่โว่

Main Article Content

จรัญ กาญจนประดิษฐ์

Abstract

บทความนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เสนอปรากฏการณ์และวิวัฒนาทางการ ดนตรี ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา พบว่า ปัจจุบันเครื่องดนตรีของชนเผ่าบางชนิดได้สูญหาย ไปจากวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม การขาดผู้สืบทอดทางดนตรี เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ ได้แก่ กลู๊ (กลองมโหระทึก) คะนะ (พิณ 5 สาย) เค้ย (จ้องหน่อง) และ ปี่บ่า (แคน) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของ ชนเผ่าและมีบทบาทสำคัญสืบเนื่องมา โดยเฉพาะ กลู๊ (กลองมโหระทึก) เป็นเครื่อง ดนตรีเก่าแก่ที่เป็นสัญลักษณ์ แทนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เคยใช้ประกอบพิธีกรรมสำคัญ ปัจจุบันได้สูญหายไปจากชุมชม มากกว่า 50 ปี สำหรับคะนะ (พิณ 5 สาย) เค้ย (จ้อง หน่อง) และปี่บา (แคน) ในสมัยอดีตเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นเพื่อความบันเทิง และเล่น ในประเพณีสำคัญต่างๆ แต่ในปัจจุบันเครื่องดนตรีทั้งสองประเภทนี้อยู่ในภาวะ ของ การขาดการสืบทอด เป็นผลทำให้มีโอกาสสูญหายไปจากชุมชนเร็วขึ้น ปรากฏการณ์ นี้จึงเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญที่อาจจะเกิดขึ้นกับดนตรีของทุกวัฒนธรรม หากไม่ สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและการปะทะทางวัฒนธรรมในปัจจุบัน

 

The Loss of musical instruments of Lai-vo Karen

This article aims to present the phenomena and evolution of Karen music sine fi fty years ago, at Lai-vo sub-district Shangklaburi district, Kanchanaburi province, It found that, some kind of musical instruments of Pwo Karen in Lai-vo area have lost from their culture. These effects come from changing social dynamics, and they have no new generation’s efforts to enrich musical knowledge. The musical instruments that have fallen out of their tradition include: Khlue (Karen bronze drum), Kha-Nha (5 plucked), Khaiy (jaw’s harp) and Pi-ba (bamboo reed). These instruments belong to the original of Pwo Karen culture and as such, usually plays in the important ceremonies. The Khlu (Bronze drum) is compared as symbol of Karen identity, it has lost from the Lai-vo more than 50 years ago. Kha-Nha (Plucked), Khaiy (jaw’s harp) and Pi-ba (bamboo reed) are instruments for entertainment. In the present day, three of instruments have been lacking of transmission because of in the Lai-vo area have no one able to build these instruments by themselves.

This case study is the musical evolution as phenomena of the musical instruments have lost in Pwo Karen culture at Kanchanaburi province Thailand, what may happened with other cultures if we cannot adapt in harmony social. Thus, we must to planning about a preservation of musical knowledge before it lost.

Article Details

How to Cite
กาญจนประดิษฐ์ จ. (2014). เครื่องดนตรีที่สูญหายจากวัฒนธรรมกะเหรี่ยงไล่โว่. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 6(1), 1–23. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/26932
Section
Research Articles