การศึกษาและพัฒนาเครื่องเรือนผู้สูงอายุในชนบทภาคอีสาน โดยใช้ภูมิปัญญาและหัตถกรรมในท้องถิ่น The study and development of elderly’s furniture in Esan rural area by using local handicraft wisdom applied.
Main Article Content
Abstract
การศึกษาและพัฒนาเครื่องเรือนผู้สูงอายุในชนบทภาคอีสาน โดยใช้ภูมิปัญญาและหัตถกรรมในท้องถิ่นในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินงานตามขั้นตอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้งานเครื่องเรือนที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุและภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมท้องถิ่นในชนบทภาคอีสาน 2.เพื่อพัฒนาเครื่องเรือนที่สอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในชนบทอีสาน โดยใช้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมในท้องถิ่น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุและเครื่องเรือนของผู้สูงอายุที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 3 หมู่บ้าน คือ ชุมชนตำบลบ้านเป็ดเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 5 หลังคาเรือน, ชุมชนตำบลพระยืน อ.พระยืน จ.ขอนแก่น 5 หลังคาเรือน, ชุมชนตำบลกุดกว้าง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 5 หลังคาเรือน ประกอบด้วย ด้านข้อมูลส่วนบุคคล ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ข้อมูลทางสุขภาพ ลักษณะบ้านพักอาศัย ลักษณะการใช้งานเครื่องเรือนเดิม และเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมในท้องถิ่นจากกลุ่มหัตถกรรมผู้สูงอายุบ้านโนนม่วง จ.ขอนแก่น ทั้งด้านรูปแบบการใช้ภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรม ศักยภาพของกลุ่ม วัสดุและเทคนิคในการผลิต โดยนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องเรือนพักผ่อนสำหรับผู้สูงอายุ ที่สามารถบริหารและออกกำลังกาย ทั้งกล้ามเนื้อแขนและขาในขณะพักผ่อนระหว่างวัน เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายในขณะพักผ่อน เนื่องด้วยข้อจำกัดของร่างกายผู้สูงอายุในการเคลื่อนไหวหรือเดินไปออกกำลังกายนอกบ้านไม่สะดวกและอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นหรือหาซื้อได้ง่ายในท้องตลาดมาใช้ในการผลิต โดยโครงสร้างใช้ไม้เนื้อแข็งเพื่อความแข็งแรง และใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนที่นั่งและพนักพิงเพื่อให้ผู้สูงอายุความรู้สึกเหมือนนั่งแคร่ที่ผู้สูงอายุใช้งาน โดยใช้กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน แต่สามารถตอบรับลักษณะของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถช่วยลดการพึ่งพาผู้อื่นในการที่ต้องพาไปออกกำลังกาย หรือช่วยทำกายภาพบำบัด มีความเหมาะสมในเรื่องการนำวัสดุในท้องถิ่นและการนำภูมิปัญญาและหัตถกรรมมาประยุกต์ในใช้การออกแบบ เทคนิคการผลิตค่อนข้างง่ายทำให้นำไปต่อยอดพัฒนาผลิตใช้งานกับผู้สูงอายุในชุมชนอื่นๆได้
This research, the study and development of elderly’s furniture in Esan rural area by using local handicraft wisdom applied, is processed following to procedures that are consistent with this research’s objective. Data collection of elderly and elderly’s furniture used in daily life is divided into three groups as 5 households from Tumbon Ban Ped community, Muang district, Khon Kaen Province; 5 households from Tumbon Phra Yuen community, Phra Yuen district, Khon Kaen Province and 5 households from Tumbon Kut Kwang community, Muang district, Khon Kaen Province. There are information of personal, ability to conduct routine, health, residence style and furniture using style. Moreover, data of local handicrafts’ wisdom from Ban Non Muang elderly handicraft group at Khon Kaen province is collected in usage patterns, potential of group, materials and manufacturing techniques. A result of study is used as elderly’s furniture concept design and development. The aims of this research are to manage and exercise in both arms and legs muscles, including slow down degeneration of the body while resting during the day because the elderly has limitations of the body motion. Walking to exercise outdoors is inconvenient and may cause an accident for them. There is using local materials or affordable in the local market to use in production. The structure is solid wood for strength. Bamboo is used to be part of seat and backrest, so that the elderly will feel like sitting at a litter. The process is not complicated, but it can respond the changing of their appearance of the body, help to reduce dependence on others who need to take them to the gym or do the rehab, appropriate in using local material and bring handicraft wisdom to apply in designing. Furthermore, manufacturing techniques makes it easier to further to elderly in other the communities.
Article Details
Content and information in articles published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is regarded as the opinion and sole responsibility of the author(s) directly; therefore, editors are not obliged to agree to or share any responsibility with regard to the content and information that appears within these articles.
All articles, information, content, image, etc. that have been published in the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University is the copyright of the Journal of Fine and Appllied Arts of Khon Kaen University. Any person or organization who wishes to distribute all or parts of the articles for further dissemination or other usage must first receive permission from the Journal of Fine and Applied Arts of Khon Kaen University before proceeding to do so.