อิทธิพลเชิงช่างที่มีต่อรูปแบบการสร้างศาลหลักเมืองในภาคอีสาน The effect of technician on the building style of the pillar shrine city in Esaan.

Main Article Content

บุตรดา คนชม
นิยม วงศ์พงษ์คำ

Abstract

          อิทธิพลเชิงช่างที่มีต่อรูปแบบการสร้างศาลหลักเมืองในภาคอีสาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของศาลหลักเมืองในอีสาน  และเพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงช่างที่มีพลต่อรูปแบบการสร้างศาลหลักเมืองในภาคอีสาน  การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง  ดังนี้ ศาลหลักเมืองขอนแก่น  ศาลหลักเมืองอุดรธานี  ศาลหลักเมืองหนองคาย  และศาลหลักเมืองนครพนม  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง  และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีเค้าโครง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการแพร่กระจาย  และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่าประวัติการสร้างศาลหลักเมืองในภาคอีสานนั้นสร้างโดยมีผู้ก่อตั้งเมืองคนแรก  และเป็นผลเชื่อมโยงมาสู่ระบบกษัตริย์ในปัจจุบัน  สภาพปัจจุบันของศาลหลักเมืองส่วนใหญ่มีแผนผังเป็นแบบจัตุรมุขเพิ่มมุม  มีการสร้างให้หันหน้าไปในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ศาลหลักเมืองขอนแก่น และศาลหลักเมืองหนองคาย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนศาลหลักเมืองอุดรธานีหันหน้าไปทางทิศเหนือ ศาลหลักเมืองนครพนมก็เช่นกัน วัสดุที่ใช้เป็นการก่อฉาบปูน  และหล่อซีเมนต์ สีที่ใช้ส่วนใหญ่เน้นสีแดง และสีขาว  วัสดุตกแต่งเพิ่มเติม เช่น กระจกสี  แกะสลักไม้  เสาหลักเมืองนิยมเป็นเสาไม้ ยกเว้นศาลหลักเมืองขอนแก่นที่เป็นเสาหิน  อิทธิพลเชิงช่างที่ปรากฏต่อรูปแบบศาลหลักเมืองส่วนใหญ่ได้รับจากรูปแบบศิลปะไทยทางภาคกลาง หรือศิลปะรัตนโกสินทร์  ทั้งการวางผัง  และลวดลายส่วนตกแต่งที่ประกอบด้วยช่อฟ้า  ใบระกา  หางหงส์  มีบัวหัวเสา  และคันทวย นั้นล้วนสืบเนื่องจากศิลปะจากส่วนกลาง  นอกจากนี้แล้วยังพบว่าช่างได้พยายามเพิ่มรสนิยมส่วนตัวเข้าไปในงานเพื่อเป็นมุมมอง ความลงตัวและความสวยงามเฉพาะทางเชิงช่างอีกด้วย


 


The dissertation of The effect of technician on the building style of the pillar shrine city in Esaan aims to study the history and current conditions of the pillar shrine city in Esaan, and to study the effect of technician on the building style of the pillar shrine city in Esaan. The population and sample for qualitative research the target group-specific were in the pillar shrine city of Khonkaen, Udonthani, Nongkhai and Nakhonphanom. In order to collect information, the research tools used include interview with layout, none interview layout. The data collected was analyzed using Diffusion theory and is presented in a descriptive analysis.


According to this study, the history of the pillar shrine city in Esaan created by the founders of the first king. and is linked to the current king. The current condition of the pillar shrine city has increased over the map as a tetrahedron, facing in a different direction, such as Khon Kaen and Nongkhai city pillar shrine facing east, Udonthani and Nakhonpanom city pillar shrine facing north. The materials used to produce cement, cement to casting the colors used are highlighted in red and white materials such as stained glass, carved wood. Pillar is a popular used by wood, except the pillar shrine city of Khonkaen monolithic. The effect of technician appears to influence the pillar shrine city have largely been formed by the art form of central Thailand or Art Rattanakosin, the layout and the decorative motifs include Chopha, Bairaka, Hanghong, Bawhuasaw and Khanthaw, all because of central Thailand art. It also found that the technician was trying to select personal style into view, commodious and especially of technician.

Article Details

How to Cite
คนชม บ., & วงศ์พงษ์คำ น. (2017). อิทธิพลเชิงช่างที่มีต่อรูปแบบการสร้างศาลหลักเมืองในภาคอีสาน The effect of technician on the building style of the pillar shrine city in Esaan. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(2), 196–218. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/114406
Section
Research Articles