พระแท่นบัลลังก์ : ความเชื่อและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ Prathaenbullung : Belief and the way of live Relationship of Banthaen distric Chaiyaphum province

Main Article Content

ตชาชาต ฝอยวารี
เดชา ศิริภาษณ์
ปัญญา นาแพงหมื่น

Abstract

งานวิจัยนี้ มุ่งที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของพระแท่นบัลลังก์ ความเชื่อ และความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การลงภาคสนามในการศึกษาข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งใช้วรรณกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นส่วนประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลทางแนวคิด ด้านความเชื่อ และความรู้ทางประวัติศาสตร์ โดยนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์    จากการวิจัยพบว่า พระแท่นบัลลังก์ เป็นพระพุทธรูปสัมริด ปางมารวิชัย พระพุทธรูปองค์นี้ได้เก็บรักษาไว้ที่วัดบัลลังก์มาเป็นเวลานานแล้ว จากข้อมูลสันนิษฐานว่า พระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะล้านช้าง ตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ปฐมกษัติย์ของอาณาจักรล้านช้าง เมื่ออาณาจักรล้านช้างมีปฏิสัมพันธ์กับอาณาจักรใกล้เคียง เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย สยาม และพม่า โดยมีการเผยแพร่วัฒนธรรมทางศาสนา พร้อมทั้งมีการพัฒนาไปด้วย เมื่อศาสนาพุทธแบบลังกาได้รับความนิยมมากขึ้น ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้างก็ยอมรับนับถือพุทธศาสนา เถรวาทแบบลังกา เช่นกัน ส่วนฐานที่เคารพ (โยนี) ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม  ฐานโยนีเป็นหินทรายแดงทั้งพระพุทธรูปและฐานที่เคารพรวมกันเรียกว่า พระแท่นบัลลังก์ ถือว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ  พระแท่นบัลลังก์นับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในประเภทงาน ปฏิมากรร  ที่สร้างสรรค์ด้วยความเชื่อ และความศรัทรา ถึงอย่างไรก็ตามพุทธศาสนายังมีความซับซ้อนของความเชื่อต่อองค์พระแท่นบัลลังก์ ในด้านผี - พราหมณ์ - พุทธ โดยผ่านมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับผี ทำให้เกิดความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอำเภอบ้านแท่นในด้านเกิด - เจ็บ - ตาย ต่อองค์พระแท่นบัลลังก์


 


This research aimed to study the history of the Phrathean Banlang, the Bronze Budda Statue in conquering devil, beliefs and relationships. Ban Thaen’s way of life in Chaiyaphum province. This study was a qualitative research using a field of study in both domestic and foreign literature components. The instrument used in the research included observation, surveys, interviews, focus group discussions and workshops. The data collected will be analyzed, checked out the concept of faith and historical knowledge. The findings presented by descriptive analysis attending. Phrathean Banlang, the Bronze Budda Statue in conquering devil, was a Laan Chang Art respectful statue the vaginal base bench of red sandstone statue with 68 cm wide of lower base collectively. It was called “Phrathean Banlang”, the respectful Buddha bench; it was the essence of Ban Thaen residents in all ages in Banthaen district, Chayaphum provinces. Phrathean Banlang was aa piece of cultural heritage. It was the sculpture of a type that created belief and faith that was associated with the lifestyle of the Ban Thaen people in Chaiyaphum province as well. Research found that Buddhism had influenced in Laan Chang kingdom since the reign When the Kingdom of Laan Chang interacted with neighboring kingdoms, such as Lanna Kingdom, SuKhothai Kingdom, Siam, and Burma, The Buddhism religious was transmission along with the development. Afterward Buddhism Lanka has been more popular in Sukhothaiadn Lanna Kingdom, The Laan Chang kingdom also accepted Theravada Lanka Buddhism as well. There was a belief in Tribhum Prarueng Bible as people created art following the faith and beliefs. However, Buddhism was also complicated and the belief was base on the root of man (birth, pain, and death) whether as a ghost- Brahman-Buddhist caused the relation to the lifestyle of the Ban Thean people to respected to the Phrathean Banlang, the Bronze Budda Statue in conquering devil, until now.

Article Details

How to Cite
ฝอยวารี ต., ศิริภาษณ์ เ., & นาแพงหมื่น ป. (2017). พระแท่นบัลลังก์ : ความเชื่อและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ Prathaenbullung : Belief and the way of live Relationship of Banthaen distric Chaiyaphum province. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(2), 1–21. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/113884
Section
Research Articles