ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) กับแนวทางและความสำคัญในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic Community: EAEC)
Abstract
ในปี 2015 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) กำลังจะก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน(ASEAN Community) ซึ่งมีสามเสาหลักคือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political-Security Community: ASC) ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) โดยเมื่อพิจารณาถึงเสาหลักด้านความมั่นคงอาเซียน และเสาหลักด้านสังคม-วัฒนธรรมจะเห็นได้ว่าเสาหลักทั้งสองนั้นเป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการ(Integration) ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของระบอบการปกครองที่ประเทศอาเซียนมีรูปแบบการปกครองทั้งประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ และเผด็จการ หรือจะเป็นปัญหาด้านอัตลักษณ์ (Identity) ที่อาเซียนมิอาจจะหาจุดร่วมบนความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคได้เลย ซึ่งแตกต่างกับสหภาพยุโรปที่มีความเป็นเอกภาพทั้งทางวัฒนธรรมและการเมือง กล่าวคือยุโรปมีวัฒนธรรมแบบคริสต์ศาสนาร่วมกัน และมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเหมือนกันทั้งภูมิภาคส่งผลต่อความเป็นเอกภาพในการบูรณาการHow to Cite
ก่อเกียรติพิทักษ์ ว., & ใจบริสุทธิ์ ว. (2016). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) กับแนวทางและความสำคัญในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic Community: EAEC). Thai Journal of East Asian Studies, 14(1), 19. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/easttu/article/view/53097
Issue
Section
Research Articles