ภาพแทนของสตรีจีนระบอบศักดินาในวรรณกรรมแปล เรื่อง 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน

ผู้แต่ง

  • WU XIAOYI Program in Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University
  • SUPAWADI YADI Program in Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University
  • THI HANG TRUONG Program in Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University

คำสำคัญ:

ภาพแทน, สตรีจีน, วรรณกรรมแปล, ลัทธิขงจื่อ, ระบอบศักดินา

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนของสตรีจีนระบอบศักดินาที่ปรากฎในวรรณกรรมแปล เรื่อง 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน ผลการศึกษาพบว่า ปรากฎภาพแทนทั้งหมด 3 ภาพแทน ได้แก่ 1) ภาพแทนสตรีจีนในอุดมคติ จำนวน 56 ตัวละคร มีลักษณะเป็นลูกที่ดี ภรรยาที่ดี แม่ที่ดี มีศีลธรรมสูงส่ง รักษาความซื่อสัตย์ต่อสามี แต่งตัวสง่างามเรียบร้อย มีกิริยามารยาทที่เหมาะสม เชี่ยวชาญงานฝีมือหรืองานศิลปะ แม้ในสถานะที่เป็นเทพก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะของ “สามคล้อยตาม สี่คุณธรรม” ที่อยู่ในกรอบแนวคิดลัทธิขงจื่อที่เกี่ยวข้องกับสตรีจีน อบรมสั่งสอนสตรีจีนเป็นแบบสตรีที่มีคุณลักษณะอันเพียบพร้อมทั้งภายนอกและภายใน 2) ภาพแทนการต่อรองกับความเป็นสตรีจีนในอุดมคติ จำนวน 19 ตัวละคร มีลักษณะเป็นสตรีที่มีพฤติกรรมนอกเหนือจากหลักจริยธรรมสตรีของลัทธิขงจื่อ คือปลอมตัวเป็นชาย เป็นวีรสตรีรักชาติและกล้าหาญ ตามทัพไปรบ มีความสามารถที่สังคมไม่ได้คาดว่าสตรีต้องมี แสวงหาความรู้จากสถานศึกษา และรักในความเป็นอิสระ ซึ่งเป็นสตรีกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่เป็นไปตามคุณลักษณะความเป็นสตรีจีนในอุดมคติทั้งหมด และยังได้รับอิทธิพลหรือยังตกอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดของลัทธิขงจื่อ 3) ภาพแทนสตรีจีนนอกอุดมคติ จำนวน 25 ตัวละคร มีลักษณะเป็นสตรีที่เป็นบ่อนทำลายชาติด้วยการยั่วยวนผู้มีอำนาจให้หลงใหล เป็นสตรีไร้คุณธรรม เป็นสตรีเด็ดเดี่ยวแข็งกร้าว คิดขโมยสิ่งของ จิตใจเห่อเหิมทะเยอทะยาน ชอบเลียนแบบ เป็นหญิงแพศยาฉาวโลกีย์ และเป็นหญิงงามเมืองตกอยู่ในแหล่งโลกีย์ สตรีกลุ่มนี้เป็นสตรีที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับคุณลักษณะของสตรีที่ดีซึ่งเป็นภาพแทนสตรีจีนในอุดมคติ

References

กนกพร นุ่มทอง. (2540) 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551) สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองและ สื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2550) เมื่อผู้หญิงคิดจะมีหนวด : การต่อสู้ 'ความจริง' ของเรื่องเพศในสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพมหานคร : คบไฟ.

เด่น รักซ้อน. (2545) โสเภณี. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (เครื่องเคลือบดินเผา) กรุงเทพมหานคร :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพิงลี่ฉาน. (2560) สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงจีนในหนังสือรวมเรื่องสั้น “เสียงเพรียกที่กลบเร้น จากแผ่นดินใหญ่”. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย) เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เพิงลี่ฉาน. (มกราคม-มิถุนายน 2565) “มโนทัศน์ “สตรี” ในวรรณกรรมจีนสมัย ค.ศ.1912 –ปัจจุบัน” วารสารรามคำแหง. 41 (1) หน้า 67-86.

พีรดา ภูมิสวัสดิ. (2563) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ. เอกสารประกอบการประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย.กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย.หน้า 2.

รติรัตน์ กุญแจทอง. (2559) การศึกษาวรรณกรรมสอนสตรีจีนตามวัฒนธรรมขงจื๊อ กรณีศึกษาวรรณกรรมเรื่อง เตือนหญิง (NUJIE) หลุนอี่ว์สำหรับสตรี (NULUNYU) นิวาสศึกษา (NEIXUN) และบันทึกสตรีต้นแบบ (NUFANJIELU). วิทยานิพนธ์ศศ.ม. (ภาษาตะวันออก) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุกัญญา ศิริสมบูรณ์ชัย. (2562) ภาพตัวแทนนางเอกในละครโทรทัศน์แนวย้อนเวลา. วิทยานิพนธ์ ว.ม. (สื่อสารมวลชน) ปทุมธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

曹大为. 中国古代女子教育. [M].北京:北京师范大学出版社,1996. 358 - 363

陈来. 儒家文化和民族复兴. [M].北京:中华书局,2020. 67

柳诒徵. 中国文化史. [M].上海:上海古籍出版社,2001. 263

彭林. 仪礼. [M].北京:中华书局,2012. 368

王相. 女四书女孝经. [M].北京:中华华侨,2011. 2

徐正英,常佩雨. 周礼. [M].北京:中华书局,2014. 169

张芝鸣.《女诫》的女性伦理观及其当代价值.[硕士学位论文].[D].湖南:湖南师范大学,2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

XIAOYI, W., YADI , S., & TRUONG, T. H. (2024). ภาพแทนของสตรีจีนระบอบศักดินาในวรรณกรรมแปล เรื่อง 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน, 11(2), 539–562. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/clcjn/article/view/271311

ฉบับ

บท

บทความวิจัย