ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ธนรัตน์ ภิโสรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 6 ประการ (1) เพื่อประเมินความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อสำรวจแรงจูงใจของผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจของผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (4) เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำแนกตามพื้นที่ (5) เพื่อระบุปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (6) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง  97 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเอฟเทสต์  ผลการวิจัย (1) ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) แรงจูงใจของผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (3) แรงจูงใจของผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางเดียวกัน (4) ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำแนกตามพื้นที่ ไม่แตกต่างกัน    (5) ปัญหาสำคัญได้แก่ ขาดงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์  (6)  ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประสานหาข้อมูลแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการ  และสนับสนุนงบประมาณการออกแบบบรรจุภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชวรา วรรณชิต. (2562). บทบาทสืบเนื่องจากความรู้ของผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่วังไกลกังวล, ประจวบคีรีขันธ์.
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2545). การดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2564). ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. เข้าถึงได้จาก: http://www.prachuapkhirikhan.go.th/_2018/otop, 20 กรกฎาคม 2564.
ชนัญฎา สินชื่น และชวพจน์ ศุภสาร. (2551). ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) : กรณีศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: งานวิจัยคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ปภาวดี มนตรีวัต. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพ็ญนภา เดชดี และคณะ. (2547). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ OTOP: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในพื้นที่ภาคกลาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักณาพิพัฒน์.
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2558). คู่มือการดำเนินงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน.
_______. (2563). OTOP BIGDATA. เข้าถึงได้จาก: https://register.cdd.go.th, 20 กรกฎาคม 2564.
สุพาณี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉรา มลิวงค์ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ ปี 2554 “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”. 27-29 มกราคม 2554, หน้า 300-304. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.