การยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารของลูกค้า ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันสั่งอาหารและส่งอาหารของลูกค้าจำแนกตาม กลุ่มอายุและระดับรายได้ โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากทฤษฎีแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีและมุมมองความสะดวกและปลอดภัยของช่องทางการชำระเงิน วิธีการสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 432 คน จากผู้ที่เลือกใช้บริการแอปพลิเคชัน Lineman เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์ตัวแปรทวินามและวิเคราะห์แบบจำลองสมการถดถอยโลจิท ผลการวิจัยพบว่า ด้านการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร พบว่า กลุ่มอายุและระดับรายได้ มีระดับการยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของลูกค้าที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้จำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่าย การรับรู้จำนวนการทำงานข้ามแพลตฟอร์ม การรับรู้การเติมเต็ม การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้ความปลอดภัย ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน บรรทัดฐานของคนใกล้ชิด คนในครอบครัว และเพื่อนฝูง บรรทัดฐานของกลุ่มคนที่ติดต่อด้วย บรรทัดฐานของกลุ่มคนอ้างอิง ความตั้งใจใช้งานแอปพลิเคชัน และพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มุมมองต่อความสะดวกและปลอดภัย การชำระเงินผ่านช่องทางเงินสด E-Wallet และ Mobile Banking อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์(E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทวีวรรณ คงมณีชัชวาล และถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย (2562). ความตั้งใจในการเลือกใช้แอปพลิเคชันการจ่ายเงินรหัส QR ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ปุณยภา ด่าน และอัญชลีพร บุญชู และเกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อความตั้งใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Wongnai โดยบริการของ Lineman. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 354-548.
พิรานันท์ แกล่งกล้า. (2562). การวิเคราะห์คุณลักษณะของบริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการสั่งอาหาร
เดลิเวอรี่ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อิสราวลี เนียมศรี. (2559). การตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น Lineman ในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Bovee,Courtland., Michael J. Houston & John V. Thrill, (1995). Marketing. (2nded.) New York: MCGraw-Hill.