การวางแผนทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายของน้ำปลาร้า โรงงานปลาร้าครูนงค์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

กัญญ์ศิชา สุกทน
นิติพล ภูตะโชติ

บทคัดย่อ

           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการซื้อน้ำปลาร้า 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าที่ซื้อน้ำปลาร้า และ 3) เพื่อวางแผนทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายของน้ำปลาร้า โรงงานปลาร้าครูนงค์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริโภคจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


  1. พฤติกรรมการซื้อน้ำปลาร้าของลูกค้าส่วนใหญ่ประเภทของน้ำปลาร้าที่ซื้อเพื่อนำไปใช้ปรุงอาหารเป็นน้ำปลาร้าปรุงรสบรรจุขวด มีความต้องการซื้อน้ำปลาร้า เมื่อน้ำปลาร้าที่ใช้ใกล้จะหมด เหตุผลในการเลือกซื้อน้ำปลาร้าเพราะรสชาติ

  2. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาร้าอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อน้ำปลาร้าไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพ แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อน้ำปลาร้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. แผนทางการตลาดในการเพิ่มยอดขายของโรงงานปลาร้าครูนงค์ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 4 แผนทางการตลาด 4 โครงการ ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ การตลาดออนไลน์และออฟไลน์ กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ การขยายกำลังการผลิตของโรงงานปลาร้าครูนงค์ กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การเพิ่มเครื่องกำจัดกลิ่น กลยุทธ์เชิงรับ คือ เพิ่มไลน์การผลิตให้หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก แก้วจินดา และคณะ. (2564). กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ปลาร้าผง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 13 (2), 196-216.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 29). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

คชเดช วังพิมูล. (2561). แนวทางการตลาดผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จรูปตรา “ศิริพร” วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชสรัญ รอดยิ้ม และกนกพิชญ์ วิชญวรนันท์. (2565). รูปแบบกลยุทธ์การขายสินค้าออนไลน์ผลิตภัณฑ์ปลาร้าคั่วกลิ้ง หมู่บ้านหนองหัวลิงใน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6 (1), 13-28.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

นภาพร หงส์ภักดี และ สืบพงศ์ หงส์ภักดี. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบและวิธีการการจำนำปลาร้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าแม่น้ำโขง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 16 (1), 1-17.

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). ส่องแบรนด์ น้ำปลาร้า สุดแซ่บ ปั้นรายได้ทะลุร้อยล้าน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/breaking-news/news-947115

โรงงานปลาร้าครูนงค์. (2567). ข้อมูลการดำเนินธุรกิจ. ร้อยเอ็ด: โรงงานปลาร้าครูนงค์.

ลงทุนแมน. (2565). อุตสาหกรรม “น้ำปลาร้า” กำลังโตระเบิด. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://www.longtunman.com/36486

วรนุช ทองนาม. (2564). แนวทางการเพิ่มยอดขายน้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรส ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรสตรา หอมนัว. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรัญญา ป้องสุวรรณ. (2566). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายน้ำปลาร้าแม่ศรี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). ปลาแดก เน่าแล้วอร่อย อาหารไทย มาจากไหน? แซบพริก 10 เม็ดจาก “สุจิตต์ วงษ์เทศ”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.matichonweekly. com/special-report/article_42473

อาภร สุนทรชัย, มนันญา ทองบ่อ และยุพดี ทองโคตร. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าปลาร้าบองท่าตูม (OTOP) ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. (หน้า 417-424). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, ‎P., Keller, K.L. & Chernev, A. (2021). Marketing Management. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Porter, M. (1980). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance; and Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press.

Sekaran, U., & Bougie. R. (2020). Research Methods for Business: a skill-building approach. 8th ed. Handdington: John Wiley and Sons.

Wilson, A., Zeithaml, V., Bitner, M. J., & Gremler, D. (2016). Services Marketing: Integrating Customer Focus Across the Firm. 3rd ed. New York: McGraw-Hill Education.