การพัฒนาระบบและกลไกการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

นภัสวรรณ์ ภูริพันธุ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฎิบัติร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนา และประเมินระบบและกลไกการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดร้อยเอ็ด  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหาร 12 คน  ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจ  20 คน ผู้แทนผู้ปฏิบัติการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ  15 คน ตัวแทนผู้ปฎิบัติงาน 180 คน และผู้รับบริการ  200 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน แนวคำถามถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ ผลการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในประเด็นย่อยของด้านระบบและกลไกและกระบวนการพบว่า สอน.และ รพ.สต.มีความต้องการจำเป็นที่มีค่าดัชนี PNI 0.30 ขึ้นไป ทั้ง 4 ประเด็น โดยมีความต้องการจำเป็นด้านสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) และการจัดบริการปฐมภูมิมากที่สุด (PN I= 0.44) ด้านงบประมาณการเงินและบัญชี (PNI = 0.37) ด้านโครงสร้างองค์กร(PNI = 0.32)  และด้านงานบุคคล (PNI=0.31 ตามลำดับ          2) ระบบและกลไกการถ่ายโอนภารกิจประกอบด้วย(1) การประเมินความพร้อมของผู้รับโอนภารกิจ (2) แจ้งผลการประเมินความพร้อมของ อบจ.ให้แก่ผู้ถ่ายโอนภารกิจ (3) การมอบข้อมูลภารกิจ กรอบงบประมาณ  อัตรากำลังบุคลากร และพัสดุครุภัณฑ์ (4) การชักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการบริหาร และ (5) การกำกับดูแล และประเมินผลกระทบ และ 3) ผลการประเมินระบบและกลไก  หลังการถ่ายโอนภารกิจพบปัญหาควาไม่พร้อมด้านระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดสรรงบประมาณด้านค่าจ้างบุคลากร การจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ไม่เพียงพอ  ความกังวลใจเกี่ยวกับความมั่นคงของตำแหน่งงาน ผู้บริหารฯ บางส่วนทั้งหน่วยโอนและหน่วยรับโอนคัดค้านและไม่สนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจ และมองว่าการถ่ายโอนจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อระบบการให้บริการ และผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดส่วนใหญ่ลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี และคณะ. (2562). ความเพียงพอของอัตรากำลังและการบริหารกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 35 (2), 175-83.

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และคณะ. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองกฎหมาย กรมอนามัย. (2565). การประชุมกรมอนามัย ครั้งที่ 3/2565 วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: dohmeeting.an amai.moph.go.th/agen da_att/file_ emeeting_agenda_att__525_30_20211201_2026155268.pdf

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์การบริหารจัดการกำลังคนของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้กลไกพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

ปรีดา แต้อารักษ์. (2555). สังเคราะห์ทางเลือกรูปแบบกระจายอำนาจต้านบริการสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

ปรีดา แต้อารักษ์, นิภาพรรณ สุขศิริ และรำไพ แก้ววิเชียร. (2551). ก้าวที่ผ่านไป.....บนเส้นทางการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ลือชัย ศรีเงินยวง และคณะ. (2555). รายงานผลการวิจัยการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะหับทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย. ภาควิชาสังคมและสุขภาพคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย และคณะ. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์กลไกการประมวลสถานการณ์และการสนับสนุนงานวิซาการนโยบายและระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนมูลนิริเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข. (2555). ถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ อปท. บทเรียนและข้อเสนอ. HSRI FORUM. 1 (2), 3-4.

ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา และ สลักจิต ชื่นชม. (2555). รายงานผลการวิจัยการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย. ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วินัย ลีสมิทธิ์ และ สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2553). บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข. รายงานวิจัย; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). (2555). กว่าทศวรรษกระจายอำนาจด้านสุขภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.hsri.or.th

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564). แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

Sequeira, R., Quinaz Romana, G., Campos Fernandes, A., Pinho, M., Freire Rodrigues, E., Isoppo, C., and Sousa, P. (2020). Decentralization process in Portugal: impact in the health care system. European Journal of Public Health. 30 (Suppl 5):ckaa166.1269.