การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาแนวทางเสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กำหนดความสามารถการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติไว้สอดคล้องกันสำหรับครูรัฐที่มีวิทยฐานะและไม่มีวิทยฐานะ แต่เนื่องจากครูโรงเรียนเอกชนยังไม่มีวิทยฐานะแต่ต้องดำเนินการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติเช่นเดียวกับครูรัฐ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการเสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การปฏิบัติของครูโรงเรียนเอกชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การปฏิบัติ รวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความต้องการ โดยการสนทนากลุ่ม มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 54 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จำนวน 30 คน และครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหา และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการนำไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า ครูต้องการพัฒนาตนเองในด้าน เนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตร การออกแบบการจัดทำแผนการสอน การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางฯ
2) แนวทางการสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การปฏิบัติของครูโรงเรียนเอกชน คือ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และประเมินความสามารถ 7 ด้าน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2) การวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา จุดเน้น ความต้องการของชุมชนและของสถานศึกษา และความต้องการของผู้เรียน 3) การจัดทำคำอธิบายรายวิชา 4) การจัดทำโครงสร้างรายวิชา 5) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 6) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และ7) การจัดการเรียนรู้
Article Details
References
ณัฐกานต์ ประจันบาน (2561). การพัฒนาเครื่องมือวัดและโปรไฟล์การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบขี้ทิศสำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัชชา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการใช้หลักสูตรอาเชียนศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ ใจฉลาด และ นลินี วรวงษ์. (2563). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาฏฤดี จิตรรังสรรค์. (2557). การพัฒนากระบวนการจัดการหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำหลักสูตรไปใช้ของครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชชา ครุฑางคะ. (2564). การศึกษาปัญหาและแนวทางการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ในจังหวัดสุโขทัย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 5 (10), 39-52
มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
วิสาร ปัญญชุณห์ . (2564). รายงานวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ INTERSECT model. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ม,2564). หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2553
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2553
หฤทัย อนุสสรราชกิจ. (2556). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองสำหรับการพัฒนาครูปฐมวัย. โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Mezirow, J. (1995). "Transformative Theory of Adult Learning." In M. Welton (ed.), In Defense ofthe Lifeworld. Albany: State University of New York Press.
Mezirow, J. (1996). "Contemporary Paradigms of Learning."Adult Education Quarterly. 46 (3), 158-172.
Mezirow, J., and Associates (eds.). (1990). Fostering Critical Refection in Adulthood. San Francisco:Jossey-Bass.
Verduin, John R. (1977). CooperativeCurriculum Improvement. Englewood Cliffs, NJ : Prentice -Hall.
Whyte, W.F. (1991). Participatory Action Research