สรีรสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะสัมพันธ์ของผู้เรียนให้สามารถ จำแนกลักษณะทางเสียงของคำศัพท์ได้ และออกเสียงเป็น

Main Article Content

วไลพร ศาสนประดิษฐ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนก่อนเรียน   สรีรสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ และการฝึกถ่ายถอดเสียง รวมถึงการฝึกออกเสียงจากสัญลักษณ์แทนเสียงพูดในพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ ในด้านการจำแนกลักษณะทางเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมเขียนตามคำบอก และในด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ (2) เปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนหลังเรียน ในด้านการจำแนกลักษณะทางเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมเขียนตามคำบอก และในด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างเป็นรูปแบบเจาะจง ประกอบด้วยนิสิตชั้นปีที่ 1 เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบทดสอบ 1-4 (2) ชุดคำศัพท์ 1 ชุด (3) แผนการสอน 15 แผน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) จำนวนผู้เรียนที่สามารถเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้องในกิจกรรมเขียนตามคำบอกในแบบทดสอบ 1-4 ก่อนเรียนสรีรสัทศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 67.5, 43.4, 58.9 และ 37.5 ตามลำดับ ระดับความสามารถอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงถึงระดับปานกลาง ส่วนระดับความสามารถในการออกเสียงของผู้เรียนก่อนเรียนโดยไม่เปิดพจนานุกรมอยู่ในระดับน้อย (x̄ = 2.5 ; S.D. = 0.7) และออกเสียงโดยเปิดพจนานุกรมไทย-อังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.7 ; S.D. = 0.3) ความสามารถของผู้เรียนเพิ่มขึ้นเมื่อเรียนครบ 15 แผนการสอน (2) หลังเรียนพบว่าจำนวนผู้เรียนที่สามารถเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 96.9, 91.6, 96.4 และ 90.6 ตามลำดับ ระดับความสามารถของผู้เรียนอยู่ในระดับดีมากทุกแบบทดสอบ ส่วนระดับความสามารถในการออกเสียงของผู้เรียนโดยไม่เปิดพจนานุกรมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.1 ; S.D. = 0.6) และการออกเสียงโดยเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.7 ; S.D. = 0.4) ระดับความสามารถหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความรู้ทางสรีรสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษและกิจกรรมการสอนที่ได้นำมาใช้ ช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านการจำแนกลักษณะทางเสียงของคำศัพท์และการออกเสียงคำศัพท์ให้ดียิ่งขึ้น และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าความสามารถของผู้เรียนทั้ง 2 ด้านมีความสัมพันธ์กัน หรือกล่าวได้ว่าทักษะทั้ง 2 เป็นทักษะสัมพันธ์ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมกันและกันในทิศทางบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดาราวดี สุกมลสันต์. (2542). สัทศาสตร์เพื่อการใช้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2547). ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ และคณะ. (2550). ภาษาอังกฤษสำหรับครู หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุสลาน สาแม และ เปรมินทร์ คาระวี. (2558). กฤตกรรมการออกเสียงพยางค์หนัก-เบา ในคำภาษาอังกฤษจากผลของการสอนแบบฟัง-พูด ร่วมกับการสอนความรู้ทางสัทศาสตร์ : การศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 26 (1), 85-99.

ฮาสีด๊ะ ดีนามอ. (2553). การศึกษาความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Cambridge advanced learner’s dictionary. (2013). (4th ed.). India: Cambridge University Press.

Garrigue, S. (1999). Overcoming pronunciation problems of English teachers in Asia.

Online. Retrieved March 21, 2011, from http://asianbridges.com/pac2/presentations/

garrigues.html/

Harmer, J. (2007). The practice of English language teaching: Harlow, Essex: Pearson Education, c2007.

Morley, J. (1991). The pronunciation component in teaching English to speakers of other languages, TESOL Quarterly. 25, 481-520.

Oxford advanced learner’s dictionary. (2005). (7th ed.). Oxford: Oxford University Press.