กลยุทธ์การสร้างการรับรู้คุณภาพสินค้าที่ส่งผลต่อความภักดี ต่อตราสินค้าโทรศัพท์มือถือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

บัณฑิต เว้นบาป
อุมาวรรณ วาทกิจ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้งานความคิดเห็นต่อปัจจัยการตลาด การรับรู้คุณภาพสินค้า ความพึงพอใจของลูกค้า และความภักดีต่อตราสินค้า  2)  วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยการตลาด และการรับรู้คุณภาพสินค้าที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า และ 3) พัฒนากลยุทธ์การสร้างการรับรู้คุณภาพสินค้าที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าโทรศัพท์มือถือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ซื้อหรือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 330 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26 – 35 ปี รายได้มากกว่า 60,001 บาท เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ 2 ปีต่อครั้ง เพราะอยากได้รุ่นใหม่ ราคาเฉลี่ย 25,001 บาทขึ้นไป ข่าวสารหลักผ่านสื่อโซเชียวมีเดีย โดยที่กลยุทธ์การตลาดด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าลำดับความสำคัญสูงที่สุด 2) ปัจจัยสำคัญขององค์ประกอบเชิงยืนยันมาจากความลงตัวและประณีตของสินค้าเป็นสำคัญ และเรื่องของการทำงาน รูปลักษณ์มีลักษณะที่ดี ความน่าเชื่อถือ และความคงทนของสินค้า ล้วนมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าด้วย และ   3) กลยุทธ์ที่นำเสนอต้องเริ่มมากจากการวางแผนในการสร้างรากฐานของส่วนประสมทางการตลาดบริการ พร้อมทั้งสร้างให้เกิดการรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้า เพื่อไปสู่การเกิดความพึงพอใจของลูกค้าที่จะส่งผลไปยังความภักดี โดยสามารถใช้พีระมิดแห่งความภักดี (Loyalty Pyramid) เป็นแนวทางในการก่อให้เกิดความจงรักภักดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดาวสวรรค์ สุขพันธุ์. (2565). การตลาดเชิงสัมพันธ์ การรับรู้คุณภาพบริการและความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการจากผู้แทนขายอุปกรณ์ทดแทนหรืออุปกรณ์เสริมเพื่อการรักษาในประเทศไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

รวิช เมฆสุนทรากุล. (2558). การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้ามีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสินค้าสตาร์บัคส์ (Starbucks) ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Aaker, D.A. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research. 34, 347-355.

Adnyana, R., & Darma, G. S. (2015). Strategi Marketing Mix, Yield Management,Customer Satisfaction and Occupancy Rate. Journal Manajemen dan Bisnis. 12 (1), 98-121.

Chitty, B., Ward, S., & Chua, C. (2007). An application of the ECSI model as a predictor of satisfaction and loyalty for backpacker hostels. Marketing Intelligence and Planning. 25 (6), 563-580.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principles of marketing. (5th edition). NJ: Pearson Education.

Kotler, P., Armstrong, G., S. H. Ang., Tan, C. T., Yau, M. & Leong, S.M. (2017). Products Quality. Malaysia: Pearson Education.

Lovelock, C., & Wirtz, J. (2011). Services marketing: people, technology, strategy. (7th edition). NJ: Pearson Prentice Hall.

Russell-Bennett, R., McColl-Kenned, J. R. & Coote, L.V. (2007). Investment, satisfaction and brand loyalty in a small business service setting. Journal of Business Research. 60 (12), 1253-1260.