ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2

Main Article Content

กัลยารัตน์ วุฒิปรัชญานันท์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
ภาสกร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ความเชื่อมั่น (Reliability) อยู่ระหว่าง 0.87 - 0.99 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression  analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ผู้วิจัยจะใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือจำนวน 9 คน คัดเลือกวิธีการแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านนิติธรรมมีระดับมาก           มีค่าเฉลี่ย = 4.47 รองลงมาได้แก่ ด้านการตอบสนอง มีค่าเฉลี่ย = 4.45 ด้านประสิทธิภาพ ด้านมุ่งฉันทามติ มีค่าเฉลี่ย =  4.44 ด้านประสิทธิผล ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย = 4.43        ด้านการกระจายอำนาจ มีค่าเฉลี่ย =  4.42 และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านภาระรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย =  4.41 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมขององค์กร และวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .286, .281, .213 และ .207 ตามลำดับ ได้ค่า Adjusted R Square = .665 หรือ 66.50%  ส่วนแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปฏิบัติ พบว่า ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ต้องตระหนักให้ดีเกี่ยวกับการบริหารองค์กรในเรื่องของความคุ้มค่า มีประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์รวี เลขะกุล, นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว และศรัญลักษณ์ เทพวารินทร์. (2561). ธรรมาภิบาลวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ไชยา ยิ้มวิไล, สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และ สุรชัย ศิริไกร. (2561). การพัฒนาความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององ์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดลําปาง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 19 (1), 48-63.

ฐิติมา ตันประดิษฐ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและนโยบายด้านการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทอดเกียรติ ทองดอนพุ่ม. (2559). แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้ เทพกร ณ สงขลา. (2545). อุปสรรคด้านกฎหมายและนโยบายการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อความยากจนของคนไทย. สถาบันพระปกเกล้า.

รัฐกรกลิ่นอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคกลาง. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภมร วงษ์ศรีจันทร์. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลของเทศบาลตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2547). การบริหารจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านฉาง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบาย สาธารณะ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.

Cronbach, L.J. (1990), Essential of Psychological testing. (5 th ed). New York: Haper Collins.