กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารทางการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของสมุนไพร

Main Article Content

วิลาวัณย์ วิเศษวัชร์
พิมพร วัฒนากมลกุล
หงษ์ศิริ ภิยโยดิลกชัย

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความรู้และวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การออกฤทธิ์และการเพาะปลูกของสมุนไพร และเพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และช่องทางการสื่อสารทางการตลาดของสมุนไพรจีนให้เป็นที่รู้จักมาก เป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เจ้าของธุรกิจร้าน ขายสมุนไพร จำนวน 10 ร้าน นักท่องเที่ยวชาวไทย 10 คน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ 10 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน โดยแบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย วิเคราะห์ ตีความหมาย และการเชื่อมโยงโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic Analysis) และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม และใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมานด้วย t-test และ F-test ด้วยวิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่แบบ Scheffe
           ผลการวิเคราะห์ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การออกฤทธิ์และการเพาะปลูกของสมุนไพร พบว่าการออกฤทธิ์และการเพาะปลูกของสมุนไพรเป็นการใช้ประโยชน์เชิงป้องกันมากกว่าการรักษา โดยแบ่งเป็น 9 ประเภท คือ 1) ยารักษากลุ่มอาการของระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) 2) ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร 3) ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา 4) ยาแก้ไข  5) ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ 6) ยาบำรุงโลหิต  7) ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก 8) ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ  และเพิ่ม 9) ยารักษากลุ่มบำรุงตับ ไต การเพาะปลูกสมุนไพรมี 3 วิธีหลัก คือ การปลูกด้วยเมล็ด การปลูกด้วยต้นกล้าหรือกิ่งชำ และการปลูกด้วยหัว ส่วนผลการวิเคราะห์ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และช่องทางการสื่อสารทางการตลาดของสมุนไพร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 46-55 ปี สัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และมีรายได้ มากกว่า 55,000 บาท    เคยซื้อสมุนไพรย่านเยาวราช ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เคยใช้อยู่ในรูปแบบ ยาแผนปัจจุบัน (ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง) แหล่งเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าออนไลน์ และเหตุผลการเลือกใช้สมุนไพร คือ รักษาโรค/บำรุงร่างกาย ผลการวิเคราะห์ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารทางการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของสมุนไพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า 3 ลำดับแรก ที่อยู่ในระดับมาก คือ ราคาเหมาะสมกับสินค้า ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ และการจัดจำหน่ายออนไลน์และออฟไลน์
           ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ รายได้ การเคยซื้อสมุนไพรย่านเยาวราชแตกต่างกันกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และช่องทางการสื่อสารทางการตลาดของสมุนไพรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิเคราะห์ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารทางการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของสมุนไพร พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ 2) กลยุทธ์ด้านราคา 3) กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ 4) กลยุทธ์ด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564. นนทบุรี: บจก.ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์

กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร. 2565. รายงานการศึกษา ประชากรกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2564. กรุงเทพมหานคร

กิติยาภรณ์ อินธิปีก. (2562). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยชุมชนมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล และ ณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). หลักการป้องกันโรคตามแนวทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15 (37), 196-209.

พวงรัตน์ จินพล. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 12 (2), 27-42.

มาลัย กมลสกุลชัยและพงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2559). บทบาทและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร

เย็นจิตร เตชะดำรงสิน. (2556). หนึ่งทศวรรษการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย พ.ศ. 2545-2555. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน ด้านธุรกิจสมุนไพรแปรรูปในเขตจังหวัดลพบุรีเพื่อรองรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (1), 191-203.

สมบูรณ์ ขันธิโชติ และชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2558). การพัฒนาศักยภาพด้านอาหารการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัดนนทบุรี กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (1), 120-130.

สมพร ภูติยานันต์. (2542). การตรวจเอกลักษณ์พืชสมุนไพร : ภาคพิเศษ. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพมหานคร. 991 น.

สุพรรณี ไชยอำพร และ สนิท สมัครการ. (2540). การวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อการพัฒนาแนวความคิดและวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์, พนม สุขจันทร์, จารุวรรณ ประดับแสง และสมนึก ลิ้มเจริญ. (2556). พืชสมุนไพรประจำถิ่นและภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5 (4), 14-27.

Kother, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. 9th ed. New Jersey: A Simon & Schuster Company.

OMICS International. (2015). Herbals Summit 2015. Indai: OMICS Group Inc.

Yamane, Taro. (1970). Statistics-An Introduction Analysis. 2nd ed. Tokyo: John Weather Hill, Inc.