โมเดลการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกร ผู้ผลิตมะพร้าวในภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระบบการผลิตมะพร้าวและการใช้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูมะพร้าวในภาคตะวันออก 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวในภาคตะวันออก 3) แนวปฏิบัติที่ดีในการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวในภาคตะวันออก 4) เพื่อพัฒนาโมเดลการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวในภาคตะวันออก 5) เพื่อประเมินโมเดลการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวในภาคตะวันออก เป็นการวิจัยและพัฒนา 1) กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ร่วมโครงการแปลงใหญ่ (มะพร้าว) จำนวน 156 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย 2) เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญในการปลูกมะพร้าว จำนวน 12 ราย 3) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ปลูกมะพร้าวแกง มีการปลูกมะพร้าวตามหลักวิชาการมีการคัดเลือกต้นพันธุ์มะพร้าวเอง มีความรู้ในเรื่องของศัตรูมะพร้าวได้แก่ ด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว หนอนหัวดำมะพร้าว และแมลงดำหนามมะพร้าวเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) รู้จักการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีเขตกรรม ชีววิธี และการใช้สารเคมีร่วมกัน ในการกำจัดศัตรูมะพร้าว 3) แนวทางการส่งเสริม จากหน่วยงานราชการโดยการใช้สื่อต่างๆ ที่มาในรูปแบบของ แผ่นพับ คู่มือ โปสเตอร์ ส่วนวิธีการส่งเสริม การสาธิต การฝึกปฏิบัติ 4) โมเดลการส่งเสริมการควบคุมศัตรูมะพร้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตมะพร้าวในภาค ตะวันออก ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย การส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อความยั่งยืน การกำจัดศัตรูพืชโดยสารเคมี และการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี 5) ผลการประเมินโมเดลในระดับมากที่สุด มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบท และสามารถนำไปใช้ได้จริง
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรม พ.ศ. 2561-2579. 1-26.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561ก). คู่มือโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2561“ มะพร้าว”.กลุ่มพัฒนาเกษตรกรและเครือข่ายผู้นำสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร.
กัลยา พ่วงเจริญ. (2558). การจัดการสวนมะพร้าวของเกษตรกร ในตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาศ กรีพานิช. ( 2556). ศึกษาการพัฒนาชุดสื่อสําหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ศิระกาญจณ์ อะนันเอื้อ. (2561). โมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตรสำหรับเยาวชน. ดุษฎีนิพนธ์สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร .สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). มะพร้าว: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่
ปี 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/assets/1/ fileups/prcaidata/files/Pineapple61.pdf
อาลีวรรณ เวชกิจ. (2555). การผลิตมะพร้าวของเกษตรกรในอําเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement.P.90-95. Fishbeic, Matin, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.