การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตามแนวทาง การผลิตผักปลอดภัยสู่มาตรฐานผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตามแนวทางการผลิตผักปลอดภัยสู่มาตรฐานผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการผลิตผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ของเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทราด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และ 2) พัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตามแนวทางการผลิตผักปลอดภัยสู่มาตรฐานผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ต้นแบบ Young Smart Farmer ประธานตลาดเกษตรกร กลุ่มผู้บริโภคผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทราที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรและการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ด้านหลักสูตรและการสอน และด้านการวัด ประเมินผล จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 มีหลักสำคัญ 8 ข้อ คือ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ย่าฆ่าแมลง ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่ง ไม่ GMO น้ำดี ดินเหมาะสม เก็บเกี่ยวสะอาด และตรวจรับรองโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา บรรจุภัณฑ์มีตราจังหวัดฉะเชิงเทรา และตราผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 แหล่งผลิตผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ที่ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม
2. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ ประกอบด้วยชุดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้และคุณค่าของผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ชุดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ชุดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตามแนวทางการผลิตผักปลอดภัยตามมาตรฐานการผลิตและคุณค่าผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ชุดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง แนวทางการพัฒนาธุรกิจเกษตรในยุคไทยแลนด์ 4.0 ผลการประเมินความเหมาะสมชุดการเรียนรู้ พบว่า ชุดการเรียนรู้ที่ 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ชุดการเรียนรู้ที่ 2, 3 และ 4 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเท่ากัน
ผลการศึกษาบริบทการผลิตผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ของเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิเคราะห์ข้อมูลมากำหนดโครงสร้างชุดการเรียนรู้ กิจกรรมและสื่อ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตและคุณค่าการบริโภคผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้านการเกษตรต่อไป
Article Details
References
คณิต สุขรัตน์ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและทัศนคติของผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology. 9 (1), 68-76.
เฉลิมชัย ศรีอ่อน. (2565). ก.เกษตรฯ ให้ความสำคัญการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถ ด้านวิชาการเกษตรทั้งระบบรองรับการเป็นครัวโลกในอนาคต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.moac.go.th/news-preview-441091792366
ธวัชชัย จิตวารินทร์ (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตสาหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนพังงา. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. ฉบับพิเศษ, 1-8.
ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ. (2563). เกษตรอัจฉริยะ จุดเปลี่ยนอนาคตอาหารโลก. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 4 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา : https://www.opsmoac.go.th/angthong-local_wisdom-preview-421491791828
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. (2561). รายงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย (Food Safety) ประจำปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2558). ผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่ อนาคตประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (03) การเกษตร (พ.ศ. 2566- 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Best, J. W. (1981). Research in education. Englewood cliff: Prentice Hall.
Likert, R. (1976). Management styles and the humancomponent. New York: AMACOM.
Salika.com. (2023). เกษตรกรรม: เศรษฐกิจฐานรากที่ก้าวหน้าและยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.salika.co/2023/02/02/agriculture-run-national-economysustai nable