สภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และความต้องการในการเข้ารับการอบรมของครูคณิตศาสตร์ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ความต้องการในการเข้ารับการอบรมของครูคณิตศาสตร์ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสอนและเทคนิคการสอน ด้านที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านนักเรียน และ 2) ความต้องการในการเข้ารับการอบรมทุกด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหามาก
Article Details
References
มารุต พัฒผล (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.curriculumandlearning.com/?page=Books&language=th
ไมตรี มั่นทรัพย์, พัชราวลัย มีทรัพย์ และ ยุพร ริมชลการ. (2564). การศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15 (2), 468 – 482.
พวงเพ็ญ อินทรประวัติ ณฐกร ดวงพระเกษ และฐิติรัตน์ คล่องดี (2564). สมรรถนะของครู 4 ด้านที่ส่งผลการการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 22 (1), 180 – 195.
ประคอง ยิ่งจอหอ สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และสมจริตรา เรืองศรี (2563). ความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา
เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12 (1), 142 – 151.
พัทธนันท์ รชตะไพโรจน์. (2559). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน
อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.
ศราวุฒ สนใจ และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ (2562). โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์. 30 (3), 145 – 159.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: หจก. ส เจริญการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร:
พริกหวานกราฟฟิค.
อวยชัย สุขณะล้ำ, พิศมัย ศรีอำไพ และประยูร วงศ์จันทรา (2560). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูตามแนวคิดกระบวนการชี้แนะ (coaching) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11 (3),
– 207.