การพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน ตำบลบ้านใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

โสภา หนูแดง
วิไลลักษณ์ บินดาร์
สมชาย ดิษฐาภรณ์
วรชัช บู่สามสาย

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทอง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี สู่การพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพ จำนวน 15 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน จากสูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า กราฟิกในปัจจุบันที่ใช้ติดบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตากมีองค์ประกอบไม่สวยงามทั้งภาพประกอบ ตัวอักษร โทนสี ลวดลาย และข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่น้อยเกินไป ทำให้ไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แปรรูปชนิดอื่นๆ จึงออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่โดยการใช้รูปร่างลายเส้นของพระราชวังพระนครคีรี ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงรูปร่างการ์ตูนกล้วยหอมทองที่มีบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส อันมีโทนสีที่วิเคราะห์มาจากต้นกล้วยหอมทองและสีสันทิวทัศน์ของจังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ และใช้ชื่อคำว่า“วัยหวาน”เพื่อสื่อถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้ จากนั้น นำไปออกแบบและจัดองค์ประกอบเป็นกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์จำนวนทั้งสิ้น 5 รูปแบบให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน พบรูปแบบที่ 2 เหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระดับมาก (𝑥̅ = 4.46 , S.D. = 0.38) และนำไปใช้กับบรรจุภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทอง เมื่อนำไปประเมินกับกลุ่มผู้บริโภค พบว่า มีความพึงพอใจระดับมาก (𝑥̅ = 3.76, S.D. = 0.11)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดเพชรบุรี. (2566). พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. (ปีการผลิต 2565/2566) .ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/phetchaburi-dwl-files-451391791924

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี. (2561). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ.2561 – 2565) ฉบับทบทวน ปี งบประมาณ พ.ศ.2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566.แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/phetchaburi-action_plan-files-44199179 1804

Ares, G., Piqueras-Fiszman, B., Varela, P., Marco, R. M., López, A. M., & Fiszman, S. (2011).

Food labels: Do consumers perceive what semiotics want to convey?. Food quality and

Preference. 22 (7), 689-698.

Campelo, A. (2015), Rethinking sense of place: sense of one and sense of many, in Kavaratzis,

M.,Warnaby, G. and Ashworth, G. (Eds), Rethinking Place Branding. Comprehensive

Brand Development for Cities and Regions, Springer, Berlin, 51-60.

Kovačević, D., Brozović, M., & Banić, D. (2020). Applying graphic design principles on tea

packaging. In Proceedings: The Tenth International Symposium on Graphic

Engineering and Design ( 12-14).

Mohebbi, B. (2014). The art of packaging: An investigation into the role of color in packaging,

marketing, and branding. International Journal of Organizational Leadership. 3 (2), 92-102. doi: 10.33844/ijol.2014.60248

Risberg, A. E. C. C., & Hultemark, H. C. (2022). Shaping consumer behavior. Contract. An

evolutionary study on how the shape of a brand logo influences preferences and brand

personality perceptions. Master’s Thesis .Copenhagen Business School. MSc Brand and Communications Management online. May 15th, 2022. From: https://research-api.cbs.dk/ws/portalfiles/portal/76443118/1356375_Shaping_Consumer_Behavior.pdf

Salem, M. Z. (2018). Effects of perfume packaging on basque female consumers purchase

decision in spain. [Effects of perfume packaging] Management Decision, 56 (8), 1748-

doi:https://doi.org/10.1108/MD-04-2017-0363

Schifferstein, H. N. J., Lemke, M., & de Boer, A. (2022). An exploratory study using graphic

design to communicate consumer benefits on food packaging. Food Quality and Preference, 97, [104458]. https://doi.org/10.1016/j.foodqual.2021.104458

Theben, A., Gerards, M., & Folkvord, F. (2020). The effect of packaging color and health claims on product attitude and buying intention. International journal of environmental

research and public health, 17 (6), 1991.

Yamane, T. (1973) Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.

Yuan, W., Dong, Z., Xue, J., Luo, L., & Xue, Y. (2023). Which visual elements on packaging

affect perceived credibility? A case study of in vitro diagnostic kits. Heliyon, 9 (6), e17239. https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2023.e17239