การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมกระบวนการเพิ่มทักษะแก่ผู้สูงอายุช่วยลดระยะเวลาในการปักผ้า 2) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุชาติพันธ์ม้งที่มีภูมิลำเนา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 ท่าน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบร่างรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่ม 9 แบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น การใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การด้านออกแบบ ด้านลายผ้าปัก ด้านกรรมวิธีการผลิต ด้านประโยชน์ใช้สอย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ลายผ้าปักดวงดาว แบบร่างรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง 3 กลุ่ม 9 แบบ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อแบบร่างการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ ที่มีต่อ 9 แบบ พบว่า แบบที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ชุดเด็กแบบที่ 1.2 คือ โดยมีค่า ( = 4.66 S.D.= 0.19) ได้รับความพึงพอใจระดับมากที่สุด
Article Details
References
เจิ้นคุน หลิว และ ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2566). ภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่ส่งผ่านอัตลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้งเหวินซาน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (2), 915-926.
ชูศักดิ์ เวชแพทย์. (2531). สรีรวิทยาการออกกําลังกาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐพร เล้าสุวรรณ และ รัฐไท พรเจริญ. (2564). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวง ที่ 1 (ฝาง). วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13 (2), 85-115.
ประเสริฐ ศีลรัตนา.(2531). ของที่ระลึก. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
มนันญา ภู่แก้ว. (2564). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : https://www.parliament.go.th /ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link. php?%20nid=1536
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์: i.d. story : theory & concept of design. กรุงเทพมหานคร: แอ๊ปป้าพริ้นท์ติ้งกรุ๊ป.
สุรีย์ เข็มทอง. (2566). ธุรกิจสินค้าที่ระลึก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566. แหล่งที่มา : https://www.smeleader.com/files/business_plan/business_plan_souvenir_shop03.pdf
สุธิษา ศรพรหม, อุดมศักดิ์ สาริบุตร และ พิชัย. (2559). สดภิบาลการศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าปักอัตลักษณ์ชาตพิันธุ์ม้ง. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7 (2), 111-123.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2549. สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แดด, (2565) จำนวนประชากรตำบลแม่แดด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://maedad.go.th/index.php?_mod=MFdVVVc5ND0&no= aER RPQ
อรณี บุญมีนิมิต. (2540). พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทบริหารธุรกิจและการตลาดการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
SUN YING XIN. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสะท้อนเอกลักษณ์พื้นถิ่นชุดศิลปะเต๋าแห่งเขาเหลาซาน. วารสารศิลปกรรมบูรพา. 19 (1), 133-148.