การพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 ของศูนย์ประสานงานช่วยเหลือคนร้อยเอ็ดกลับบ้าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนาระบบ และประเมินผลระบบการบริหารจัดการกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาด โรคติดเชื้อโควิด-19 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ให้บริการ ประสานงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบหลัก รวม 121คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2564 ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการ และ 3) ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Application (เมือบ้าน ๑๐๑) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหาการบริหารจัดการทั้งด้านกระบวนการ และผลลัพธ์ 2) ระยะพัฒนาระบบบริหารจัดการได้มีกระบวนการพัฒนา 3 วงรอบเกี่ยวกับ (1) การเข้าถึงศูนย์ประสานงาน (2) การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (3) การใช้เทคโนโลยีในการลงทะเบียน 4) การจัดพาหนะรับส่งจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลถึงภูมิลำนา (5) การจัดหาสถานที่รับการรักษาหรือกักตัวสังเกตอาการ และการติดตามหลังส่งต่อ และ 3) ระยะประเมินผลพบว่า กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือให้กลับบ้านจังหวัดรอยเอ็ดทั้งหมด 2,249 คน จำแนกเป็นผู้ป่วยสีแดง 2 คน สีเหลือง 17 คน และสีเขียว 2,230 คน ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าระบบบริหารจัดการที่พัฒนาขึ้นช่วยให้กลุ่มสี่ยงและผู้ป่วยได้เข้าถึง และได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วตามมาตรฐาน
Article Details
References
กฤติยาพร พลาเศรษฐ และคณะ. (2565). การจัดการของชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16 (3), 908-923.
จิราภรณ์ ชูวงศ์ และดวงใจ สวัสดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้ามาในจังหวัดตรัง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 28 (1), 1-17.
ประกาศ เจริญราษฎร์. (2566). กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19) แบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (1), 287-300.
พันธ์ฉวี สุขบัติ. (2565). ถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโควิด-19 จังหวัดมุกดาหาร กรณีรับส่งแรงงานชาวลาวกลับบ้าน จากสถานการณ์ "ผึ้งแตกรัง". วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 20 (2), 108-119
หนึ่งฤทัย ศรีสง และคณะ. (2564). การวิเคราะห์เชิงพรรณนาสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานบันเทิงของไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30 (ฉบับเพิ่มเติม), S5-S13.
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2564). ล็อคดาวน์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มาhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?tile=ล็อคดาวน์.
Kemmis, S., Mctaggart, R., & Nixon, R. (2014). The Action Research Planner: Doing Critical Participatory Action Research. Singapore: Springer.
TDRL. (2564). การแพร่ระบาดระลอก 3 สถานการณ์ ผลกระทบและทางออกเชิงนโยบาย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2021/05/covid-119/