การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

จิราพร ทาระกะจัด
วาโร เพ็งสวัสดิ์
วันเพ็ญ นันทะศรี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง “การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ควรจะของภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Modified Priority Needs Index (PNImodified) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การตระหนักรู้ในตนเอง 2) การจัดการตนเอง 3) การสร้างแรงจูงใจ และ 4) การคิดสร้างสรรค์ สภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.84, S.D. = 0.26) ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.43, S.D. = 0.44) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.093 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการสร้างแรงจูงใจ (PNImodified = 0.104) เป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านการจัดการตนเอง (PNImodified = 0.097)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การุณย์ ประทุม. (2560). ภาวะผู้นำตนเองและความมีจิตสำนึกของกลุ่ม: การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงจำแนกและการเชื่อมโยงไปยังประสิทธิผลกลุ่มงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 43 (3), 137-155.

คมกริช นันทะโรจน์พงศ์ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). การให้ความหมาย ที่มาของความหมายและกระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำในตนเองของวัยรุ่นกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นซี: การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารครุศาสตร์. 46 (3), 1-28.

ชิสา มีศิล. (2562). ผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำตนเองของพนักงานบริษัท โตโยต้า เค. มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธิดาวัลย์ อุ่นกอง. (2560). ภาวะผู้นำตนเอง: แนวคิดการพัฒนาความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์. 28 (1), 1-13.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

อภินันท์ ขำศิริ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำตนเอง ความพึงพอใจในงาน

และผลการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวรในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 17 (1), 2.

Bryant, A. & Kazan, A. (2012). Self Leadership. America: The McGrow- Hill companies.

Dubrin, J.A. (1998). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. Boston, MA.: Houghton Mifflin.

Liu Jinyan. (2021). Self-Leadership of Nurses in Tertiary Hospitals, Yunnan Province, People’sRepublic of China. Nursing Journal. 48 (3), 79-92.

Neck, C.P., Manz, C.C. & Houghton, J.D.. (2016). You can't make me! The role of self-leadership in enhancing organizational commitment and work engagement. Journal of Organizational Behavior. 42 (5), 748-762.

Neck, C.P., Manz, C.C. & Houghton, J.D.. (2020). Self-leadership : the definitive guide to personal excellence. America: SAGE Publications Asia-Pacific Pte. Ltd.