A Development of Thai Reading Instruction Model Using Project-Based Learning to Enhance Analytical Reading Ability for Chinese Students

Main Article Content

Zhong Rulin
วารีรัตน์ แก้วอุไร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 Dianchi College of Yunnan University จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน 2) รูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ 5) แบบประเมินผลการจัดทำโครงงานทางภาษาไทย ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18, 4.35, 4.39 ตามลำดับ ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5517 หรือร้อยละ 55.17 2) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการจัดทำโครงงานทางภาษาไทยของนักศึกษาจีน อยู่ในระดับดีมาก ระดับดี พอใช้ และควรปรับปรุง จำนวน 1, 1, 2 และ 1 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 20, 20, 40 และ 20 ตามลำดับ    

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Zhong Rulin, มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

References

กัญญาภัทร แสงแป้น. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์

เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชน นคร. (2558). การจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาภาษาไทยโดยใช้โครงงาน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 1 (1), 73-86.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

เผชิญ กิจระการ. (2559). การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. การวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ นครคุนหมิง. (2562). ความสัมพันธ์ไทย-จีน (ความร่วมมือด้านการศึกษา). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://kunming.thaiembassy. org/th/page/17289-menu=5d74d0c215e39c0834004f70

สำนักข่าวซีอาร์ไอ. (2011). ผู้นำส่งสาส์นแสดงความยินดีในโอกาส 35 ปี ความสัมพันธ์จีน-ไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา https://thai.cri.cn.

สิระ สมนาม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และแม่แบบว่าด้วยการแสวงหา เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย สำหรับผู้เรียนบนพื้นที่สูงภาคเหนือ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48 (1), c.

อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Malachowski, M. (2002). ADDIE based five-step method towards instructional design. Online.Retrieved May 3, 2023. from : http//fog.ccs.ca.us/~mmalacho/OnLine/ ADDIE.html.

Potter, M. K., and Kustra, E. (2012). A Primer on Learning Outcomes and the SOLO Taxonomy. Centre for Teaching and Learning: University of Windsor.

Qin, W. D. (2019). Analysis of problem and solution for Thai reading strategies Chinese students. Journal of higher Education, 12(89), 67-69.

Yang, L. (2012). The Development of Instructional Model for Thai Language Reading Comprehension for Students of Yun Nan University of Nationalities Based on Active Reading Theory and Cooperative Learning Principles. Doctor of Philosophy Program in Education and Social Development. Faculty of Education : Burapha University.