โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Main Article Content

นิภาภรณ์ ราชบรรดิฐ
วันเพ็ญ นันทะศรี
เอกลักษณ์ เพียสา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane ในการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบที และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างสมการโครงสร้างเชิงเส้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
          ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษาประกอบไปด้วย การสร้างบรรยากาศในการทำงาน การสร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับครู และ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังปรับสมการโครงสร้างเชิงเส้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1.29 มีค่าองศาอิสระ เท่ากับ 1 มีค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.05 ค่าสถิติไค-สแควร์ ต่อค่าองศาอิสระ เท่ากับ 1.29 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ 0.95 มีค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน เท่ากับ 0.02 มีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณพาพารามิเตอร์ เท่ากับ 0.04

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุไรรัตน์ เหมะธุลิน. (2554). การพัฒนาโมเดลตัวบงชี้การเสริมสรางพลังอํานาจครูระดับมัธยมศึกษา.

วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฉลิมชัย แก้วมณีชัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฉัตรชัย แทนทอง. (2561). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณฐกร รักษ์ธรรม. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอํานาจการทํางานของครู

ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้. วารสารราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี. 1 (1), 163-179.

นิลุบล ชูสอน. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญา ศรีลารักษ์. (2557). รูปแบบความสัมพันธเชิงสาเหตุของปจจัยที่มีอิทธิพลตอพลัง อํานาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ปิยวัฒน์ มีคุณ. (2556). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พรฐิตา ฤทธิ์รอด, วิทยา จันทร์ศิลา, ฉลอง ชาตรูประชีวิน และ สําราญ มีแจ้ง. (2556). รูปแบบการบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15 (1), 60-65.

ภิญญาพัชญ์ เทียมเมืองแพน. (2560). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้ สำหรับ

โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 3.

วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มณีรัตนา โนนหัวรอ. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการ

วัดและการประเมินผลการศึกษาของครูประจำการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

มณฑธวัล วุฒิวยานันต์. (2556). พลังอํานาจการทํางานของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วารสารศึกษาศาสตร ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน. 7 (4), 220-227.

วรัญญา เรือนกาศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัด

อุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สถาพร ภูบาลเช้า. (2559). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

สมจิต สงสาร. (2552). การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธโครงสรางเชิงเสนของปจจัยที่มีอิทธิพลตอการ

เสริมสรางพลังอํานาจการทํางานที่มีประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธศึกษาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแกน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. (2564). การดำเนินการตามนโยบาย การบริหารทรัพยากร บุคคล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563 – 30 - มิถุนายน 2564), สกลนคร.

สุริยา หึงขุนทด. (2563). กระบวนทัศน์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษา : พหุกรณีศึกษา จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Blase, Joseph & Base. Jo Roberts. (1994). Empowering Teachers: What successful Principals.Thousand Oask, Califormia: Corwin Press

Curran, P. J., West, S. G., & Finch, J. F. (1996). The robustness of test statistics to nonnormality and specification error in confirmatory factor analysis. Psychological Methods, 1(1), 16–29.

Kanter, R.M. (1979). Power failure in management circuits. Harvard Business Review. 57, 65 – 75