การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหาร ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ชิ้นงาน ใบกิจกรรม แบบวัดความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ควรกำหนดสถานการณ์ปัญหาที่นักเรียนพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน สืบค้นข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือ ครูควรให้นักเรียนร่วมมือกันสร้างชิ้นงานควบคู่กับการแก้ปัญหา รวมถึงวางแผนดำเนินการสร้างชิ้นงานและนำเสนอชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในองค์ประกอบของการสร้างความคิดที่หลากหลายได้ดีที่สุด รองลงมาคือ การสร้างความคิดสร้างสรรค์ และการประเมินและปรับปรุงความคิดตามลำดับ และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
Article Details
References
จรูญพงษ์ ชลสินธุ์, สิรินภา กิจเกื้อกูล, และ วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบ ร่วมมือ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (2), 32-46.
ชนัฏดา ภู่โปร่ง. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาร.
นิตยา อ่างทอง. (2565). สารอาหาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www. scimath.org/lesson-biology/item/9791-1-9791
นิลาวรรณ สิงห์งาม. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับกระบวนการสอนแบบซินเน็คติกส์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 13 (60), 151-166.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวทางเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต. 9 (1), 136-154.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี, ประสาท เนืองเฉลิม, และ ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่ ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 9 (พิเศษ), 408-410.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ Assessment for Learning Development. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 9 (1). 1-17.
ภิญโญ วงษ์ทองและคณะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้ บูรณาการสตีมศึกษาสำ หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14 (3), 153.
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2560). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด. วารสารบัณฑิตศึกษา. 14 (64), 43-50.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (PISA 2022). การประเมินความคิดสร้างสรรค์ใน PISA 2022. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: [INFOGRAPHICS] การประเมินความคิดสร้างสรรค์ใน PISA 2022 – PISA THAILAND (ipst.ac.th).
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2022). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. ออนไลน์. สืบค้น 18 สิงหาคม2565. แหล่งที่มา: kfile:///C:/Users/DELL/Downloads/StatbySchool_2564_P6_ 1062010087.pdf.
อภิสิทธิ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19, 15-18.
Belbase, S., Mainali, B. R., Kasemsukpipat, W., Tairab, H., Gochoo, M., & Jarrah, A. (2021). At the dawn of science, technology, engineering, arts, and mathematics (STEAM) education: prospects, priorities, processes, and problems. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 1-37. https://doi.org/10.1080/ 0020739X.2021.1922943
Brophy, S., Klein, S., Portsmore, M., & Rogers, C. (2008). Advancing Engineering Education in P-12 Classrooms. Journal of Engineering Education. 97 (3), 369-387.
Division of Research Administration and Educational Quality Assurance. (2017). Thailand 4.0 Model Drive of Thailand Towards Stability, Wealth and Sustainable. Bangkok: Division of Research Administration and Educational Quality Assurance.
Householder, D.L. & Hailey, C.E. (2012). Incorporating engineering design challenges into STEM ourses. Online. April 5, 2023, from http://digitalcommons.usu.Edu/ncete_ publications/166.
OECD. (2019). PISA 2021 Creative Thinking Framework (Third draft). https://www.oecd.org/ pisa/publications/PISA-2021-creative-thinking-framework.pdf.
Santiboon, T., & Fisher, D. (2005, August). Laboratory learning environment and Teacher –Student Interactions in physics classes in Thailand .paper presented at the 4th. International Conference on Science, Mathematics and
Technology Education.Simon Fraser University, Vancouver, Cannada.Yakman, G. (2008) STEAM Education an overview of creating a model of integrative Education. http://www.iteaconnect.org/Conference /PATT/PATT1/9Yakmanfinal19.html/