การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ฯ ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกภาคสนาม 3) แบบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาจีน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ dependent sample และหาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้กิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นระบุประสบการณ์และกำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นเข้าใจในเรื่องราวและสะท้อนผลอย่างไตร่ตรอง 3) ขั้นวางแผนสร้างคอนเทนต์ 4) ขั้นสร้างสรรค์คอนเทนต์และเผยแพร่ 5) ขั้นประเมินผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และมีค่าประสิทธิภาพ 76.33/75.11 2) การพูดภาษาจีนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนเกิดความสามารถด้านการพูดภาษาจีนจากการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ
เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล. (2547). การพัฒนาการเรียนการสอนที่สนองต่อรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พีบาลานซ์ไซด์แอนปริ้นติ้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถม-มัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์การพิมพ์.
สิรินาถ ศรีอนันต์ และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560). การใช้การเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษและความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อรุณี วิริยะจิตรา. (2532). การเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
Ai, B., Kostogriz, A., Wen, D., & Wang, L. (2020). Student presentations as a means of teaching and learning English for Specific Purposes: An action research study. Teaching in Higher Education. 25 (2), 223-237.
Association for Experiential. (1994). Association for Experiential Education. Retrieved from www.aee.org
Bailey K. M. and Savage. (1994). New way in teaching speaking. Alexandia, Virginia: Teachers of Other Language
Emily John & Melor Md Yunus. (2021). A Systematic Review of Social Media Integration to Teach Speaking. Sustainability, 13, 1-18
Gyan Prakash Yadav & Jyotsna Rai. (2017). The Generation Z and their Social Media Usage: A Review and a Research Outline. Global Journal of Enterprise Information System, 9(2), 110-116
Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Right Source. (2015). Build Your Content Marketing Plan: A 10-Step Guide. Retrieved from https://www.rightsourcemarketing.com/wp-content/uploads/2015/09/RSMeBook_ ContentMarketingPlan.pdf
Tekinarslan, E. (2008). Blogs: A qualitative investigation into an instructor and undergraduate students’ experience. Australasian Journal of Education Technology, 24(4), 402-412
Yuh Huann Tan & Seng Chee Tan. (2010). A metacognitive approach to enhancing Chinese language speaking skills with audioblogs. Australasian Journal of Education Technology, 26 (7), 1075-1089