สำรับอาหารพื้นถิ่นในคาบสมุทรสทิงพระ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องสำรับอาหารพื้นถิ่นในคาบสมุทรสทิงพระ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้รูปแบบ เชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ สังเกตการณ์ทั้งมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสำรับอาหารพื้นถิ่นในคาบสมุทรสทิงพระ 2) สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของสำรับอาหารพื้นถิ่นในคาบสมุทรสทิงพระ และ 3) สำรวจความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีต่ออาหารตามรายการอาหารในสำรับพื้นถิ่นในคาบสมุทรสทิงพระที่ได้รับการพัฒนา สร้างสรรค์เป็นรายการอาหารใหม่ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามในการสำรวจความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ เก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยการเลือกสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ 1) ผู้ประกอบการร้านค้าอาหารพื้นถิ่น 2) กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก 3) กลุ่มผู้ผลิต ผู้จำหน่ายอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่ และ 4) กลุ่มตัวแทนจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดจำแนกข้อมูลตามหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล และรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ผลจากการวิจัยทำให้ได้ข้อมูลของรายการอาหารพื้นถิ่นในคาบสมุทรสทิงพระซึ่งจำแนกตามอาหารในแต่ละมื้อหลักและจำแนกตามฤดูกาลที่นิยมปรุงเพื่อใช้รับประทานในครัวเรือน และเพื่อจำหน่าย เกิดองค์ความรู้ในกระบวนการผลิตพัฒนาดัดแปลงรายการอาหารใหม่ขึ้นภายใต้การใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นในการปรุงอาหาร ซึ่งผลสรุปที่ได้จากการวิจัยก่อให้เกิดรายการอาหารที่ผ่านกระบวนการทั้งหมด 4 รายการ ได้แก่ 1) คั่วกลิ้งเคยปลา 2) ข้าวผัดมันปู 3) น้ำพริกกุ้งหวาน และ 4) กุ้งฝอยทรงเครื่อง โดยรายการอาหารที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการสำรวจความพึงพอใจซึ่งมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.39
Article Details
References
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2562).โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณการ. ออนไลน์. สืบค้น 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: http://hsmi2.psu.ac.th/food/paper/132/owner.
สุนีย์ วัฑฒนายน. (2557). 6 อาหารท้องถิ่น วัฒนธรรมการกินแบบพื้นบ้าน สืบสานสู่อาเซียน.บทความวิจัย.
วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม, 1 (1), 34-44.
ปิยวรรณ ศุภวิทิตพัฒนา. (2555) การพัฒนาสำรับอาหารท้องถิ่นสำหรับการท่องเที่ยวลุ่มน้ำน่าน:กรณีศึกษาตำบลจอมทอง จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม:พิษณุโลก. ออนไลน์. สืบค้น 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?
เรณุมาศ กุละศิริมา. (2560) การพัฒนารายการอาหารเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารท้องถิ่นสำหรับร้านอาหาร. ออนไลน์. สืบค้น 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/290485