ผลกระทบของการอยู่อย่างมีคุณค่าที่มีต่อความยั่งยืนของผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการอยู่อย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาความยั่งยืนของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อทดสอบการอยู่อย่างมีคุณค่าที่มีต่อความยั่งยืนของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีการอยู่อย่างมีคุณค่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.97 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างเสริมความรู้และทัศนคติที่ดี มีค่าเฉลี่ย 3.99 ด้านการส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 3.98 และด้านพฤติกรรมซึ่งสนับสนุนต่อการมีชีวิตยืนยาว มีค่าเฉลี่ย 3.94 2) ผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความยั่งยืนโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.95 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ย 4.07 ด้านเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย 4.03 ด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ย 3.91 ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 3.89 และด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.85 และ 3) การอยู่อย่างมีคุณค่า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อความยั่งยืนของผู้สูงอายุ และตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (b) เท่ากับ 0.388, 0.353, และ 0.204 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.753 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.567 และมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ ร้อยละ 56.70
Article Details
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับปรับปรุง เดือนมีนาคม 2561). กรุงเทพมหานคร: กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
เกศรินทร์ วิงพัฒน์ และ โชติ บดีรัฐ. (2565). ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (7), 137-148.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563ข). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545-2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่
พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ.
เจียรนัย ทรงชัยกุล. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี.
ทักษิกา ชัชวรัตน์ และ สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (3), 176-188.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.
Thestandard. (2565). UN เผยประชากรโลกแตะ 8 พันล้านคนแล้ว ‘อินเดีย’ จ่อแซงจีนปีหน้า หลังอายุขัยเฉลี่ยมนุษย์สูงขึ้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา:https://thestandard.co/ worlds-population-reached-8-billion/.
World Population Review. (2022). Total Population by Country 2022. Online. 3 December 2022. Sources. https://worldpopulationreview.com/countries.